รีวิว คู่กรรม

รีวิว คู่กรรม

แม้ผลสำรวจอันเก่าแก่ได้ระบุไว้ว่า เด็กไทยโดยเฉลี่ยอ่านหนังสือเพียง 8 บรรทัดต่อปี ดังนั้นมีความเป็นไปได้อย่างสูงที่คนไทยจำนวนหนึ่งจะไม่เคยอ่านนิยายคลาสสิคเรื่อง “คู่กรรม” ที่ประพันธ์โดย ทมยันตี (นามปากกาของ คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์) แต่ยังไงซะ เชื่อเถอะว่า คนไทยไม่น้อยกว่า 1 ล้าน รู้จักและคุ้นเคยกับ คู่กรรม

ที่ผ่านมา คู่กรรม ถูกนำเสนอออกมาแล้วหลากหลายเวอร์ชั่นตามยุคสมัยนิยมช่วงนั้นๆ และทั้งหมดล้วนแล้วแต่ประสบความสำเร็จ แน่นอน “คู่กรรม” ฉบับ ณเดชน์ คูกิมิยะ โดยการตีความใหม่ของผู้กำกับ เรียว (กิตติกร เลียวศิริกุล) ย่อมต้องแบกรับแรงกดดันไม่มากก็น้อยตามไปด้วย   หนังไทยเก่าน่าดู
ความตั้งใจดีที่จะฉีกความจำเจเดิมของคุณเรียว โดยพยายามผลักดัน “คู่กรรม” ให้เป็นหนังรักวัยทีน
ด้วยการใช้ภาพสไตล์ซีรีส์เกาหลี มีดาราหน้าตาดีแสดงนำ อย่างที่เขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า “คู่กรรม ของผมเป็นหนังรักวัยรุ่น ดังนั้นจะไม่มีอะไรที่เยิ่นเย้อยืดยาดแน่นอน โกโบริเจอกับอังศุมาลินก็จีบกันเลย งอนกันง้อกันเลย”
จากคำพูดข้างต้นจึงไม่น่าแปลกใจ หากความลึกซึ้งรวมถึงพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างพระ-นางจะขาดมิติ ไร้ความน่าเชื่อถือ ออกจะไม่มีที่มาที่ไปของบ่อเกิดความรักที่จับต้องสัมผัสได้เลย ตัวหนังจึงไม่อาจดึงอารมณ์ร่วมของคนดูให้ผนึกตรึงติดเก้าอี้ได้ตลอดเรื่อง กระทั่งบางช่วงบางตอนของหนังถึงขั้นชวนง่วงเหงาหาวนอนเลยทีเดียว

เว็บดูหนัง

บทจะสยิวชวนกรี๊ดสักหน่อยกับฉากเลิฟซีนอันลือลั่น ก็ดันแป้กซะอย่างงั้น ก็คุณเรียวจิตสัมผัสใช้วิธีถ่ายทอดอารมณ์ผ่านการเคลื่อนกล้องเนิบนาบ เดินภาพเกี้ยวพาราสีกันอันยาวนาน มุดกันไป มุดกันมา เล่นเอาคนดูลุ้นจนเยี่ยวเหนียว ออกอาการเหนื่อยหน่ายกันไป เท่านั้นยังไม่พอ เราแถมความน่าอึดอัดให้เป็นของกำนัลอีกต่างหาก….แต่ก็เอาเถอะ อย่างน้อยๆ โกโบริก็สอนให้เรารู้ว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” ดูท่าก็คงจะสำเร็จไปหลายรอบอยู่เหมือนกันนะคืนนั้น
คนน่าเห็นใจนอกจาก ณเดชน์ที่แบกรับหนังทั้งเรื่อง และผู้ชมที่สละตังค์ตีตั๋วเข้าไปดูแล้ว คงหนีไม่พ้นคุณ(ระ)ทมยันตี เพราะหนังทำเอาความขลังและเสน่ห์บทประพันธ์ของท่านอันตธานหายไปในทันใด แล้วแทนที่ด้วยความเครดิตต้นเรื่อง แนวสดใสสไตล์อาโนเนะ ลายเส้นคุ้นตาคล้ายอนิเมชั่นญี่ปุ่น ดนตรีประกอบฟังให้ความรู้สึกรื่นเริงบันเทิงใจ ราวกับว่า ได้ย้อนกลับไปวัยเด็กเมื่อครั้งนั่งใจจดใจจ่อหน้าจอทีวีรอดูช่อง 9 การ์ตูน เฮ้ย! นี่ฉันกำลังดู “โดราเอมอน เดอะมูฟวี่ ตอน โนบิตะตะลุยรักสาวไทยหัวใจหิน” หรือเปล่านะ
ความดีความชอบของคู่กรรมเวอร์ชั่นนี้ก็ใช่ว่าจะหาไม่เจอ ซึ่งนอกจากความอลังการของโปรดักชั่นแล้ว
สุดตกอยู่ที่การแสดงของ ณเดชน์ ช่างดูลื่นอย่างกับปลาไหล รักแทบตายสุดท้ายหลุดมือ (เอ่อ เข้าเรื่องกันต่อดีกว่า)….ความสมจริงไม่ว่าจะท่าทาง น้ำเสียง เขาเป็นนายทหารญี่ปุ่นผู้ไร้พิษภัยจนเชื่อสนิทใจ
ขณะที่ฝั่งของนางเอกน้องใหม่ถอดด้ามอย่าง ริชชี่ (อรเณศ ดีคาบาเลส) การแสดงของเธอก็ดูเป็นธรรมชาติมากๆ เปรียบเหมือนได้สัมผัสหินผา ขอนไม้ ก็ไม่ปาน จะแข็งอาร๊ายยยขนาดนั้น คาดว่าน่าจะเป็นการตลาดแบบแพ็คเกจคู่ของคุณอัย ศุภเช ที่พยายามใช้พระเอกดังดันดาราหน้าใหม่ให้รุ่ง อย่างที่เคยทำกับ อั้ม พัชรราภา – เคน ภูภูมิ จนสำเร็จมาแล้วจากหนังเรื่อง “30กำลังแจ๋ว”

แต่สำหรับความเป็นมือใหม่ของ ริชชี่ นั้นอาการค่อนข้างหนักทีเดียว บอกได้เลยว่า ต่อให้ณเดชน์บวกฟองน้ำเสริมพิเศษอย่างหนามาช่วยก็คงจะเป็นปฏิบัติการดันอันแสนลำบากยากเย็นพอดู เพราะอารมณ์และสีหน้าเธอแบนราบเรียบจริงๆ แต่คุณเรียวก็แสดงศักยภาพอันน่าเลื่อมใส ด้วยการให้ผู้ชมได้ยินเสียงในหัวว่า ริชชี่เธอคิดอะไรอยู่ เพราะตามคาแรกเตอร์ อังศุมาลิน จะเป็นสาวที่ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา เมื่อนักแสดงทำสีหน้าให้เหมือนคนคิดมากไม่ได้ ก็ต้องแก้เผ็ด เฮ้ย! แก้ไขด้วยวิธีการนี้แหละ
ส่วนบรรดามิตรรักแฟนคลับ ณเดชน์ แล้ว การได้เข้าไปเชยชมความหล่อผนวกฝีมือการแสดงที่เข้าขั้นก็คงจะคุ้มค่าทุกนาทียิ่งกว่าดูทีวีสีช่อง3 เสียอีก
บทบาทโกโบริที่เขาสวมนั้นดุจดั่งบ่อน้ำในทะเลทรายของหนังคู่กรรมก็คงไม่ผิดอะไร แม้ท้ายที่สุดหนังจะตกม้าตายในฉากจบ แต่ถือว่าพระเอกหนุ่มของเราทำหน้าที่ตัวเองได้ยอดเยี่ยมกระเทียมเจียวแล้ว
ที่ลืมไม่ได้ ซีนสารภาพรักหลังโกโบริโดนบึ้มนั้นถือเป็นอีกหนึ่งฉากไฮไลท์ของเรื่องที่แฟนๆ รอชม ณเดชน์ดึงอารมณ์ผู้ชมจนเกือบจะทะลักพลุ่งพล่านถึงฝั่งฝันอยู่แล้วเชียว ดันต้องมาสะดุดตอติดขัดคัดจมูก เพราะความแข็งของไอรอนเกิร์ลอังศุมาลิน…ว่าแต่มีใครสงสัยมั้ยว่า มันระเบิดยังไงกันถึงทำให้ร่างพ่อโกโบริกระเด็นกระดอนขึ้นไปนอนค้างให้ไม้ทิ่มท้องอยู่บนจอมปลวกได้เนี๊ยะ งงจุงเบย
เมื่อจอหนังมืดดับลง ในใจก็ครุ่นคิดหนักอกไม่รู้ว่า หลังก้าวเท้าออกจากโรงไปแล้ว ณเดชน์ หรือ ริชชี่ กันแน่ที่ตายตอนจบ เฮ้อออออออ “คู่” กรรมแท้ๆ

รีวิว คู่กรรม

สุดท้ายนี้ ถ้า “คู่กรรม” ฉบับคุณเรียว เป็นการตีความใหม่ของหนังล่ะก็ งั้นผมขอฝากผลงานการตีความใหม่ของเพลง “ฮิเดโกะ” ดูซิของใครจะเลอะเทอะเปรอะเปื้อนกว่ากัน (แปลงตามฮุคสุดท้ายในทำนองเพลงญี่ปุ่นนะ)
คู่กรรม ฉบับปี พ.ศ. 2556 ถือเป็นหนังที่มาพร้อมกับความคาดหวัง และเป็นภาระอันหนักอึ้งของทุกภาคส่วนแห่งค่าย M๓๙ เพราะเรื่องนี้เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดที่ค่าย M๓๙ เคยทำมา ที่หากผลลัพธ์ออกมาไม่ดีพอ ทั้งในแง่ของคำวิจารณ์จากผู้ชมและตัวเลขรายได้ก็อาจทำให้ถึงกับเสียสูญหรือ เสียความมั่นใจที่เคยสั่งสมมาได้เหมือนกัน แต่หาก

ผลลัพธ์ไปในทางบวก คู่กรรม แห่งปี พ.ศ. 2556 ก็จะเป็นภาพยนตร์ที่ช่วยส่งให้ค่ายหนังยกระดับขึ้นไปอีกขั้น!
เราจะเห็นว่าการประชาสัมพันธ์ต่างๆ นั้น ให้ความรู้สึกเป็นหนังรักที่ไม่สมหวัง ที่ถือเป็นทิศทางการประชาสัมพันธ์ที่ถูกต้องและเข้ากับเรื่องราวใน

คู่กรรม ซึ่งจุดนี้ต้องชื่นชมทีมประชาสัมพันธ์และการตลาดที่ตีโจทย์ได้แตก (อย่าลืมว่าบทประพันธ์เรื่องนี้จบด้วยโศกนาฎกรรม) แต่กับการเปิดเรื่องในหนังด้วยภาพและดนตรีอันสดใส ราวกับหนังรักวัยรุ่นจึงเป็นอะไรที่สร้างความเคลือบแคลงขึ้นมาในใจมาหนัง มุ่งไปยังทิศทางที่ถูกต้องแน่หรือ?
อย่างที่ทราบว่าบทประพันธ์ คู่กรรม นั้นเป็นของ ทมยันตี นักเขียนนิยายระดับตำนานของไทย เป็นเรื่องราวความรักบนเส้นขนานระหว่างหญิงชาวไทย อังศุมาลิน (อรเณศ ดีคาบาเลส) และโกโบริ (ณเดชน์ คูกิมิยะ) ทหารญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ลงท้ายคือโศกนาฎกรรมที่ทำให้ใครหลายคนต้องเสียน้ำตา
ซึ่งฉบับนี้ผู้กำกับ กิตติกร เลียวศิริกุล เลือกที่จะนำเสนอในแบบหนังรักเต็มรูปแบบ โดยเน้นไปที่สองพระนางและตัดปัจจัยอื่นๆ ออกไป ซึ่งเป็นแนวคิดที่น่าสนใจและหากทำได้ถึงก็จะเป็นการเปิดมุมมองใหม่ให้กับ เรื่องคู่กรรม แต่กระนั้นด้วยความซับซ้อนของบทประพันธ์ ที่มีเรื่องของการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเกี่ยวข้อง รวมทั้งตัวละครหลักที่มีจำนวนพอสมควร การนำเสนอที่หวังจะมีเพียงแต่โกโบริและอังศุมาลิน ทำให้ตัวละครตัวอื่นนั้นแบนราบ!
รีวิว คู่กรรม

ความรู้สึกหลังดู

คู่กรรมฉบับนี้เล่าเรื่องราวผ่านมุมมองของโกโบริเป็น หลัก (ซึ่งหนังกำหนดทิศทางนี้มาตั้งแต่ต้นเรื่อง) และใช้เสน่ห์ของคู่พระนางได้ดี โกโบริ ดูเป็นชาวญี่ปุ่นซื่อๆ จริงใจ ในขณะที่อังศุมาลินก็ดูเป็นสาววาจาห้วนๆ เต็มไปด้วยความเย่อหยิ่งในตัว แต่เมื่อเรื่องดำเนินไป บทบาทของโกโบริค่อยๆ เปล่งประกายมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้กำกับเน้นนำเสนอเรื่องราวในมุมของโกโบริมากกว่า
ณเดชน์มอบบทบาทการแสดงที่ยอดเยี่ยมผิดคาด กับการพูดในสำเนียงติดญี่ปุ่นและดวงตาที่สื่ออารมณ์ได้โดยไม่ต้องเอ่ยประโยคอะไร แต่กับอรเณศต้อง ถือเป็นความโชคร้ายที่การตีความบทอังศุมาลินของผู้สร้างไม่เอื้อให้เธอแสดง ศักยภาพออกมาเท่าที่ควร และในเมื่อคู่กรรมฉบับนี้เลือกที่จะเล่าเรื่องราวผ่านมุมมองของโกโบริเป็น หลัก (ซึ่งหนังกำหนดทิศทางนี้มาตั้งแต่ต้นเรื่อง) การใส่เสียงความคิดของอังศุมาลินเข้ามาจึงเป็นอะไรที่ขัดแย้งและไม่ได้ช่วย ให้เข้าใจตัวละครอังศุมาลินมากขึ้น
หนังมีปัญหาพอสมควรกับการลำดับเรื่องรวมถึงการลงรายละเอียดเพื่อที่จะให้ ผู้ชมเข้าใจว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมันมีความหมายและส่งผลต่อตัวละครในเรื่องอย่างไร จนอาจทำให้คนที่ไม่รู้จักเรื่องราวคู่กรรมมาก่อนเกิดความสงสัยว่าอะไรกำลัง เกิดขึ้นในหนัง! แม้หนังจะค่อยๆ เผยเหตุปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ความรักระหว่างโกโบริและอังศุมาลินไม่สมหวัง แต่ด้วยบทภาพยนตร์ที่มีปัญหาหนังจึงไม่สามารถพาผู้ชมให้รู้สึกอินไปกับความ รักของเขาและเธอ รวมถึงเหตุการณ์ต่างๆ ได้มากพอจนเป็นที่น่าเสียดาย
อย่างไรก็ตาม หนังเป็นเจ้าของฉากสวยๆ หลายฉาก โดยเฉพาะฉากขายอย่างฉากระเบิดสะพานพุทธและฉากสถานีรถไฟบางกอกน้อยอันเป็นฉาก ปิดของเรื่อง ซึ่งองค์ประกอบฉากทำออกมาได้ดูยิ่งใหญ่ การจัดแสง การถ่ายภาพ รวมถึงเทคนิคพิเศษทำออกมาได้ดีและสมจริง ทั้งหมดเป็นส่วนเสริมสำคัญที่ทำให้คู่กรรมฉบับนี้ยิ่งใหญ่อลังการและมีงานสร้างที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งของภาพยนตร์ไทย

สุดท้าย คู่กรรม ฉบับปี พ.ศ. 2556 เราไม่อาจกล่าวได้เต็มปากว่านี่คือผลงานที่ดีแต่เราก็ไม่สามารถบอกได้เช่น กันว่านี่คือผลงานที่แย่ แต่กระนั้นก็ต้องขอชมเชยกับความกล้าของผู้กำกับกิตติกร เลียวศิริกุล และทีมงานในการหยิบผลงานคลาสสิคเรื่องนี้ขึ้นมาตีความใหม่และพยายามที่จะฉีก แนวของคู่กรรมฉบับนี้ให้ต่างจากเวอร์ชั่นที่ผ่านมา แต่ผลลัพธ์ของมันที่เป็นอยู่ก็คงบอกได้เพียงว่าเป็นความพยายามที่ยังไม่สำ ฤทธิ์ผลเท่าที่ควร!

เว็บหนัง

รีวิว คู่กรรม

ไม่น่าเชื่อว่า ภาพยนตร์คู่กรรม ประจำปี ๒๕๕๖ ที่กลับมาอีกครั้งในเวอร์ชั่นที่กำกับโดย เรียว กิตติกร ในนามบริษัท M39 จะถูกกระแสลบโจมตีใส่อย่างไม่คณาในสังคมเว็บบอร์ดขนาดใหญ่อย่างพันทิปถึงขนาดที่ผู้เขียนไม่อาจจะเชื่อสายตาตนเองว่าจะมีปรากฎการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในทิศทางไหน

ผู้เขียนกล้าเอ่ยปากอย่างมั่นใจว่า สิ่งที่ปรากฏมันมีทั้งความบริสุทธิ์ใจซึ่งเกิดขึ้นได้จากความไม่ชอบในตัวหนัง และผู้คลั่งไคล้นวนิยายต้นฉบับ แต่ที่ประหลาดและเคลือบแคลงสงสัยคือมันมีการทำงานหรือวิจารณ์อย่างจงเกลียดจงชังจนอาจเรียกได้ว่านี่คือการวิจารณ์อย่างไม่สร้างสรรค์และมีผลประโยชน์เคลือบแฝงทับซ้อนอย่างที่บุคคลทั่วไปเช่นผู้เขียนจะสามารถเข้าใจได้แต่หากใครที่เข้ามาอยู่ในยุทธจักรเช่นนี้ย่อมรู้ดีว่า

รีวิว คู่กรรม

ก่อนหน้านี้สังคมเว็บบอร์ดแห่งนี้ก็ไม่ได้สะอาดเท่าไหร่ มันเป็นที่แหล่งรวมพลของคนมุ่งร้ายเพื่อความสะใจ(บางกลุ่ม) และสันนิษฐานว่ายังเป็นที่ทำการตลาดของค่ายหนัง เพื่อขจัดกระแสวิจารณ์แง่ลบออกไปเพื่อหวังสร้างกระแสชื่นชมปากต่อปากเพื่อกอบโกยรายได้มาอย่างนมนาน หรือผู้เขียนอาจจะทึกทักเอาเองได้ว่ามีตำแหน่งนักสร้างกระแสทางเว็บบอร์ดมืออาชีพกันเลยทีเดียว

สิ่งที่เกิดขึ้นกับค่ายหนัง M39 ในครั้งนี้ถือเป็นบทเรียนครั้งสำคัญที่ต้องจดจำเอาไว้อย่างแยบยล เพราะนอกจากไม่สามารถทำให้เกิดการชื่นชมตัวหนังได้อย่างสะอาด ยังถูกรังควานไปถึงตัวค่ายเองด้วยซ้ำ หรือกล่าวง่ายๆว่า กระแสลบในครั้งนี้ มีผู้คนไม่ปรารถนาดีพยายามจะปลุกกระแสเพื่อบอกว่าภาพยนตร์ของค่าย M39 จะย่ำแย่ตลอดไป (นี่ถือ

เป็นการหาโอกาสตัดแข้งตัดขาทางธุรกิจเลยทีเดียว) นี่ยังไม่นับก๊กเหล่าที่เกิดขึ้นในส่วนของแฟนคลับที่หลากหลายหลากเหลื่อนจนทำให้ลดทอนความสร้างสรรค์ที่จะเกิดการวิจารณ์เพื่อให้เกิดพัฒนาต่อวงการภาพยนตร์ได้

รีวิวหนังไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *