รีวิว ดาวคะนอง
สวัสดีจ้าวันนี้แอดจะมารีวิวหนังเรื่อง รีวิว ดาวคะนอง ทุก ๆ ปี สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติจะคัดเลือกหนังไทย 1 เรื่อง มาเป็นตัวแทนประเทศไทยในการส่งเข้าไปชิง รางวัลออสการ์ สาขาหนังภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม รีวิวหนัง ดาวคะนอง ซึ่งต้องเข้าไปฟาดฟันกับหนังอีกเกือบ 200 เรื่องจากทั่วโลก อย่างปีก่อนก็เป็นหนังเรื่อง อาปัติ และสำหรับในปีนี้ได้เลือกหนังรางวัลสุพรรณหงส์ยอดเยี่ยมเรื่อง ดาวคะนอง ของ อโนชา สุวิชากรพงศ์ เป็นตัวแทนประเทศ
ดาวคะนอง จะให้พูดไปคือหนังที่ว่าด้วยเรื่องของ การรื้อสร้างการจัดทำสิ่งที่เรียกว่าประวัติศาสตร์ในสังคมไทย โดยที่นี้เลือกเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ขึ้นมาเป็นตัวอย่างในการก่อร่างความทรงจำหรือบันทึกเหตุการณ์ในปัจจุบัน คือถ้าจะยกเหตุการณ์อื่นอย่าง เมื่อปี 2538 พ่อกำชับกับเปี๊ยกให้ไปบอกแม่ด้วยว่าเย็นนี้จะกลับบ้านดึกเพราะติดประชุม โดยมาใช้วิธีเล่าของหนังเรื่องนี้ก็จะได้ประมาณว่า
ปี 2560 จ๊อดหลานของเปี๊ยกเล่าเรื่องปี 2538 ให้ฟังโดยยกเหตุการณ์เมื่อปีกลายที่น้าแป้งข้างบ้านได้มาเล่าให้จ๊อดฟังว่า ป๊อดลูกของเปี๊ยกหรือก็คือพ่อของจ๊อดเคยเล่าให้น้าแป้งฟังว่าเมื่อตอนปี 2538 เกิดอะไรขึ้น โดยแป้งจินตนาการในหัวเวลาเล่า สมมติให้ออยคนขายลูกชิ้นปิ้งหน้าปากซอยเป็นแม่เปี๊ยกและลุงตู่คนขับแท็กซี่เป็นพ่อเปี๊ยก เพราะแป้งไม่เคยเจอพ่อและแม่เปี๊ยก ส่วนจ๊อดยิ่งแล้วใหญ่เขาต้องนึกเอาครูบังอรเป็นย่าทวดส่วนครูสมานก็เป็นปู่ทวดของตัวเอง เพราะเขาก็เกิดไม่ทันเห็นปู่ทวดย่าทวด
ซึ่งมาถึงตอนนี้คนที่ฟังจ๊อดมาตลอดก็จะพบว่าเราก็มีภาพในหัวของเรา โดยอาจยกเอาหน้าตาของใครสักคนในชีวิตมาจำลองในเหตุการณ์เมื่อปี 2538 ประเด็นเพราะว่าเราไม่เคยเจอพ่อแม่เปี๊ยกหรือแม้แต่เปี๊ยกเอง หนำซ้ำที่หนักข้อและเป็นประเด้นสำคัญหนึ่งในหนังคือบ้านของเปี๊ยกไม่มีใครถ่ายรูป หรือเขียนบันทึกแบบละเอียดไว้เลย เหมือนทุกคนอยากลืม ๆ ไปว่ามีเหตุการณ์วันนั้นเมื่อปี 2538 ไปเสีย ซึ่งจริง ๆ เราก็พอทราบมาบ้างว่าเพราะวันนั้นแม่เปี๊ยกจับได้ว่าพ่อซุกเมียน้อยจนหย่าขาดกันในที่สุดนั่นเอง
นั่นก็เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นใน ดาวคะนอง ที่ไม่ได้เล่าเรื่องอดีตโดยตรง แต่เล่าว่าตอนนี้จ๊อดหรือแม้แต่คนที่ฟังลำดับสุดท้ายมีการรับรู้เรื่องราวมาผ่านแต่ละลำดับมาอย่างไร แต่ละลำดับคนที่ฟังคิดอย่างไรเป็นอย่างไร และนำเสนอยั่วให้คิดว่าแล้วจะเชื่ออะไรดีไหมในเรื่องเล่าเหล่านั้นที่ไม่ได้มาจากพ่อกับแม่ของเปี๊ยกเองด้วยซ้ำ ซึ่งนี่คือการวิพากษ์การเขียนประวัติศาสตร์ของไทย ที่อาศัยการตีความของคนหลายรุ่นมากกว่าจะใช้หลักฐานทางโบราณคดีแบบที่สากลเขานิยมทำกัน
ฉากเปิดเรื่องที่ถ่ายทีมงานทำหนังซ้อนหนังบวงสรวงเปิดกล้องใน ดาวคะนอง
ดังนั้นมันจึงไม่ใช่หนังเล่าเรื่องในแบบสามัญสำนึกของคนดูหนังทั่วไปที่มีพระเอกนางเอก ตัวร้าย อุปสรรค ความขัดแย้งหรือไคลแม็กส์แบบที่คุ้นชินนัก จะจัดประเภทเป็นหนังทดลองก็ยังดูเข้าเค้ากว่า ดังนั้นถ้าถามว่าหนังเล่าเรื่องอะไรเราคงเล่าแบบได้แค่เหตุการณ์ในภาพที่เราเห็น ส่วนถามว่าหนังบอกเล่าอะไร คงแล้วแต่การตีความประสบการณ์ของแต่ละคน ในที่นี้คือประสบการณ์ความเข้าใจต่อช่วงยุคมืดในการเมืองไทย ใครดูหนังเรื่องนี้ไม่รู้เรื่องจึงไม่ใช่ความผิดแต่อย่างใด หนังไทยเก่าน่าดู
และสำหรับใครที่ไม่รู้ว่า 6 ตุลาคม เกิดอะไรขึ้น หนังก็ได้เล่าบางส่วนของมันให้รับทราบกันในช่วงต้นของหนัง เมื่อผู้กำกับหนังสารคดีในเรื่องได้สัมภาษณ์อดีตผู้นำนักศึกษาที่ต่อต้านรัฐบาลทหารของจอมพลถนอมในยุคนั้น จนในท้ายสุดเหล่านักศึกษาถูกกองกำลังจัดตั้งรวมทั้งทหารตำรวจกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์แล้วล้อมปราบยิงฆ่าอย่างโหดร้ายทารุณ ซึ่งเราไม่บันทึกเหตุการณ์ที่เลวร้ายมากนี้ในประวัติศาสตร์ไทยอย่างเป็นทางการเช่นกัน
ฉากเบื้องหลังทีมงานในหนังซ้อนหนัง จำลองเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
และเพียงพาร์ทเดียวที่เล่าเรื่องอดีตในหนังนี้เองที่เป็นปัญหาให้ งานกิจกรรมชมหนังและเสวนาวิพากษ์ภาพยนตร์ โดย Doc Club Theater ถูกเจ้าหน้าที่สั่งยกเลิกไป ทั้ง ๆ ที่เป็นส่วนน้อยมากในหนัง ทั้งหนังทั้งเรื่องก็ยากจะหาคนดูเข้าใจแบบทั้งหมดได้ยากเพราะเต็มด้วยสัญญะ การตัดต่อเหตุการณ์ที่อิงกับโครงสร้างการเขียนประวัติศาสตร์ตามที่ได้เล่าไปมากกว่าลำดับเวลาด้วย แต่ในขณะเดียวกัน กิจกรรมรำลึก 6 ตุลาคม 2519 ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง ซึ่จัดฉายหนังเรื่องนี้ ที่หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เช่นกัน กลับไม่ถูกสั่งห้ามฉายแต่อย่างใด ยิ่งว่าหนังเพิ่งจะได้ทำลงแผ่นดีวีดีวางขายทั่วประเทศในวันเดียวกันด้วยแล้ว
รีวิว ดาวคะนอง
ทั้งนี้เดาได้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐอาจไม่ได้มีปัญหากับตัวหนังเป็นพิเศษอะไร เพราะหนังก็ผ่านการฉายมามากมายแล้วทั้งในโรงหนัง เทศกาลหนัง จนได้รับรางวัลมามากมายแล้วด้วย หากจะมีปัญหาอาจเป็นตัวบุคคลที่จะเข้าร่วมงานของทาง Doc Club Theater เสียมากกว่าว่าอยู่ในกลุ่มที่เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังความเคลื่อนไหว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นเพียงการคาดเดาจากเราครับ
ครูคณิตศาสตร์พบ ‘แหวนทองคำโรมัน’ 2,000 ปี ในสวนหน้าบ้าน หลังภรรยาให้เครื่องตรวจจับโลหะเป็นของขวัญ !
โดยตัวหนังเองส่วนตัวก็พูดยากว่าควรส่งไปชิงออสการ์หรือไม่ เพราะมันไม่ใช่หนังแนวออสการ์ที่เน้นเข้าใจง่ายกว่านี้แต่อย่างใด ทั้งยังเป็นเรื่องแบบที่คนไทยเท่านั้นถึงจะอินได้ด้วย แต่ก็ต้องยอมรับว่าหนังมีคุณค่าในเชิงศิลปะอยู่มาก แม้จะเดินตามรอยของหนังแนวอินดี้ไทยในเรื่องฟอร์มมากไปก็ตาม
เอาเป็นว่าใครสนใจหนังแนวทดลองที่ใช้เซลล์สมองเราได้ครบทุกหยักก็ลองไปหาดูจากร้าน Boomerang ผู้ผลิตดีวีดีหนังเรื่องนี้เอาได้ครับ แต่ก็ต้องเตือนว่าหนังไม่ใช่หนังดูเอาสนุกหรือดูเอารู้เรื่องนะครับ 555
ดาวคะนอง เล่าเรื่องตัวละครหลายตัวที่มีชะตาชีวิตเกี่ยวข้องกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่ผู้กำกับหญิงและนักเขียนอาวุโสผู้เป็นแรงบันดาลใจของเธอ สาวเสิร์ฟในร้านกาแฟที่เปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ นักแสดงหญิงและชายคู่หนึ่งที่อาจจะเป็นหรือไม่ได้เป็นคู่รักกันนอกจอ ชีวิตของพวกเขาเกี่ยวเนื่องกันด้วยสายใยบางๆ ที่แทบจะมองไม่เห็น แต่สะท้อนชีวิตมนุษย์ในแง่มุมต่างๆ
“ถ้าเราจะเข้าไปดูหนังเรื่องนี้เพื่อที่จะปะติดปะต่อส่วนเสี้ยวต่างๆ ของเรื่องราว บางทีก็อาจจะโดน discourage หรือโดนบั่นทอนกำลังใจพอสมควร เพราะไม่รู้ว่าตกลงแล้วอะไรมันต่อกับอะไร แล้วจะงงเป็นไก่ตาแตก เพราะในท้ายที่สุดแล้วผมว่าอะไรที่เรารู้สึกว่ามันปะติดปะต่อได้ก็ปะติดปะต่อ อะไรที่มันเป็นส่วนที่เกินความรู้เราก็ต้องปล่อยมันไป เพราะคนทำหนังเองก็ยังยอมรับว่าเขาเองก็ใส่บางส่วนมาโดยที่ละทิ้งบริบทของมันไประหว่างทำ เพราะฉะนั้นเราคงไม่มีทางที่จะไปเดาใจคนทำหนังได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
“ผมว่านี่แหละคือความท้าทายในการดูหนังเรื่องนี้ แล้วมันก็ปรับทัศนคติเราในแง่หนึ่งว่ามันไม่ใช่การดูหนังเพื่อความบันเทิง หรือรสชาติ หรือวาทศิลป์ในการเล่าเรื่อง แต่มันเป็นการทดลองเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ให้กับคนดูว่างานภาพยนตร์มันสามารถจะเป็นแบบนี้ได้
“ผมคิดว่าคนดูหนังมาจนถึงบัดนี้ ความ sophisticate ในการดูหนังของคนดูปัจจุบันก็ไม่ได้ไร้เดียงสาเหมือนกับ 10 หรือ 20 ปีที่แล้ว เพราะฉะนั้นผมคิดว่าถ้าคนดูตั้งตัวสักหน่อยหนึ่ง แล้วไม่ได้ ignorant หรือไม่ได้ปิดหูปิดตาตัวเองมากเกินไป ผมว่าใช้เวลาประมาณ 15 นาที ก็จะรู้แล้วล่ะว่านี่เป็นหนังที่มีความพิเศษในแบบของมัน”
ความรู้สึกหลังดู
“อย่าใช้คำว่าชอบเลยแล้วกัน เพราะคำว่าชอบมันเป็นคำที่สำเร็จรูปเกินไปในการอธิบายหนังแบบนี้ แต่ผมอยากใช้คำว่า ‘น่าสนใจ’ มากกว่า เพราะมันมีความน่าสนใจในหลายแง่มุมมาก อย่างแรกคือวิธีการเล่าเรื่อง ธรรมชาติของคนดูหนังในการติดตามการเล่าเรื่องของหนังมักจะคิดว่าหนังเรื่องหนึ่งมันควรจะมีเส้นเรื่องเดียว
หรือสองเส้นเรื่อง หรือสามเส้นเรื่อง หรือจะมากกว่านั้นก็ตาม แต่มันต้องเรียงร้อยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่เส้นเรื่องของหนังเรื่องนี้มันพาเราไปทุกทิศทุกทางโดยมีลักษณะที่เกาะเกี่ยวกันแบบหลวมมากๆ ซึ่งผมรู้สึกว่านี่เป็นสิ่งที่ยังไม่ค่อยได้พบเห็นเท่าไหร่นักในวิธีการเล่าเรื่องของหนังไทย คือมันมีลักษณะของการเป็นหนังทดลองอยู่พอสมควร
“อีกสิ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจมากๆ นอกจากการเล่าเรื่องคือการหยิบประเด็น 6 ตุลาฯ มาพูด ซึ่งผมเห็นว่าไม่ค่อยมีหนังไทยแตะต้องประเด็นนี้เท่าไหร่ ซึ่งมันน่าเวทนาตรงที่ว่า 6 ตุลาฯ ผ่านมาแล้ว 40 ปี วงการหนังไทยยังพูดถึงเรื่องนี้ด้วยท่าทีกล้าๆ กลัวๆ หรือพูดกันน้อยเกินความเป็นจริง
ผมว่ามันเป็นภาพสะท้อนที่ทำให้เห็นว่าเราหลงลืมประวัติศาสตร์ ซึ่งผมรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ก็พยายามจะจี้จุดนี้เหมือนกัน เพราะคนรุ่นใหม่ต่อไม่ติดกับเหตุการณ์ที่มันสำคัญมากๆ เมื่อ 40 ปีที่แล้ว และที่สำคัญคือเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีที่แล้วมันไม่ได้เกิดและจบสิ้นในเวลานั้น เพราะยังมีผู้รอดชีวิตอยู่ และข้อสำคัญคือเหตุการณ์มันยังอยู่ ผมรู้สึกว่าอันนี้เป็นสิ่งที่โดดเด่นมากๆ ของหนังเรื่องนี้”
“พอพูดคำว่าชอบหรือไม่ชอบ ผมว่ามันเป็นการประเมินค่าหนังต่ำไปหน่อย คือเราคงไม่ได้ตัดสินหนังแบบนี้ด้วยความชอบหรือไม่ชอบ ผมรู้สึกว่ามันเป็นความเอร็ดอร่อยในการดูหนัง และความสนุกในการเชื่อมโยง หรือความแยบยลในแง่ที่หนังนำความคิดต่างๆ มาร้อยเรียงให้มันเป็นภาพที่ใหญ่ขึ้น
“อีกทีนะ ผมคงไม่ประเมินหนังเรื่องนี้ในความเด่นความด้อย แต่ความคลุมเครือของหนังเรื่องนี้ก็มีมาก บางทีความเสี่ยงของหนังเรื่องนี้ที่จะทำให้คนดูหลงทางก็คือความก้ำกึ่งระหว่างการที่มันดูเหมือนจะชัดเจนกับความที่มันคลุมเครือ หรือบางทีคนทำหนังอาจจะดูเหมือนอำเภอใจไปนิดหนึ่ง
คือคนทำหนังก็มีวิธีคิดของตัวเอง คนดูหนังก็ต้องเชื่อว่าตัวเองก็มีวิธีคิดของตัวเองเหมือนกัน เพราะฉะนั้นมันคือต่างคนต่างแชร์ คนทำหนังก็แชร์สิ่งที่เธอเชื่อว่าเธออยากจะนำเสนอแบบนี้ ส่วนการตีความก็คงเป็นเรื่องของคนดูหนัง ซึ่งก็คงต้องขึ้นอยู่กับต้นทุน
และประสบการณ์ทางด้านสุนทรียศาสตร์ของคนดูหนังด้วยเหมือนกัน คือถ้าเราหวังว่าจะเข้าไปดื่มด่ำเส้นเรื่อง การแสดง หรือการถ่ายทำที่ให้บรรยากาศรื่นรมย์ มันก็มีบ้าง แต่อาจจะโดนตัดตอนด้วยความไม่ต่อเนื่องของการเล่าเรื่อง
“ฉะนั้นถ้าเกิดเราเข้าใจว่านี่คือหนังที่มีลักษณะของการทดลองอยู่ หรือมีลักษณะของการผลักดันข้อจำกัดของการเล่าเรื่องไปในทิศทางที่มันไม่เคยมีใครเดินทางไปมาก่อน ผมคิดว่ามันก็เป็นการเปิดประสบการณ์ที่ดีมากๆ สำหรับวงการหนังไทย”
“เหมาะสำหรับคนไทย ผมคิดว่าฝรั่งดูหนังเรื่องนี้แล้วจะ lost หรือหลงทาง หรือไม่เข้าใจหลายอย่างมากๆ แล้วผมดูหนังเรื่องนี้แล้วผมภูมิใจ ต้องบอกว่าผมภูมิใจที่ตัวเองเป็นคนไทยและได้ดูหนังเรื่องนี้ เพราะมันสื่อสารกับคนดูโดยตรง โอเค คนดูรุ่นใหม่อาจจะไม่มีปูมหลัง
แต่ผมว่าหนังมันก็สะกิดคนดูพอสมควร แปลว่าคนดูรุ่นใหม่อาจจะไม่มีพื้นภูมิความรู้ แต่ว่าสิ่งที่ถูกบอกเล่าในหนังมันย่อมที่จะสะกิด หรือกระตุ้นให้เราไปเสาะแสวงหาพื้นภูมิของสิ่งที่หนังบอกเล่า อย่างกรณี 6 ตุลาฯ ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่คนดูหนังควรจะมีพื้นเพอยู่แล้ว
“เพราะฉะนั้นผมคิดว่าหนังเรื่องนี้เหมาะกับคนดูหนังที่เป็นคนไทยมาก เพราะมันมีหลายช่วงมากที่เราหัวเราะ หึหึ หรือรู้สึกเจ็บปวด ขณะที่ผมเชื่อว่าถ้าฝรั่งดู อย่างเช่น ฉากที่หญิงสาวในเรื่องมองผ่านโดมธรรมศาสตร์ หรือไฟ 3,000 ล้านตอนท้ายเรื่องของ กทม. ผมคิดว่าร้อยเปอร์เซ็นต์ฝรั่งจะไม่รู้ว่ามันคืออะไร
คือบางทีในฐานะที่ดูหนังมาเยอะ บางทีเราก็รู้สึกมีอุปสรรคเรื่องวัฒนธรรมเวลาเราดูหนังต่างชาติ หรืออุปสรรคเรื่องประวัติศาสตร์ของประเทศนั้นๆ เพราะฉะนั้นเวลาเราได้เห็นอะไรแบบนี้ในหนังของเราเอง ก็รู้สึกภูมิใจ และรู้สึกดีใจที่เราก็มีหนังที่มันเปิดโลกทัศน์ และเราก็ไม่ต้องก้าวอุปสรรคทางด้านภาษา หรือด้านวัฒนธรรม”
“ใครอยากชวนใครก็ไปดูเถอะครับ แต่ถ้าจะให้ดูหนังเรื่องนี้โดยเข้าถึงได้เร็ว ก็ควรจะเป็นคนที่เข้าใจว่านี่ไม่ใช่หนังแบบบันเทิงคดี เพราะฉะนั้นอย่าคาดหวังว่ามันจะต้องเป็นหนังแบบที่เราคุ้นเคย หรือหนังที่เรากินข้าวโพดคั่ว นั่งไขว้ห้าง แล้วเอนหลัง เพราะฉะนั้นจะชวนใครไปดูก็ได้ เพราะท้ายที่สุดแล้วผมเชื่อว่าคุณจะเดินออกมาแล้วพูดคุยกัน
“ถ้าถามว่าชวนใครไปดูดี ผมว่าควรจะชวนคนที่เราคิดว่าเราน่าจะมีบทสนทนาต่อเนื่องได้หลังจากดูหนัง”