รีวิว พี่ชาย MY HERO
สวัสดีจ้าวันนี้แอดจะมารีวิวหนังเรื่อง พี่ชาย MY HERO อันที่จริงพี่ชาย My Hero หรือชื่อภาษาอังกฤษ How to Win At Checkers (Every Time) ได้รับการจัดฉายไปแล้วครั้งแรกในประเทศไทยในเทศกาลงาน รีวิวหนัง พี่ชาย MY HERO Bangkok Gay and Lesbian Film Festival โดยมีหัวเรือใหญ่เป็นนิตยสารแอตติจูด
แถมนี่เป็นผลงานการกำกับของ จอช คิม ผู้กำกับชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลี ที่หยิบเอาเรื่องสั้นในชื่อ Draft Day ของนักเขียนชื่อรัฐวุฒิ ลาภเจริญทรัพย์ อันบอกเล่าเรื่องราวของน้องชายที่ไม่อยากให้พี่ชายของตนต้องไปเกณฑ์ทหาร เขาพยายามทุกวิถีทางแม้กระทั่งการไปติดสินบน อันที่จริงเนื้อหาสาระของเรื่องสั้นไม่ได้มีการบ่งชี้ว่าตัวละครในเรื่อง
เป็นตัวละครแบบชายรักชาย แต่ในเวอร์ชั่นภาพยนตร์มีการหยิบเอาความรักของผู้ชายสองคนใส่เข้าไปในเรื่อง
อันที่จริงจะเรียกว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังของชายรักชายอย่างเดียวก็ดูจะ “ไม่แฟร์นัก” เพราะจักรวาลในหนังเรื่องนี้การที่ผู้ชายสองคนจะรักหรือเป็นแฟนกันนั้น ไม่ใช่เรื่องผิดปกติของสังคม หรือเป็นเรื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใด เพราะตลอดทั้งเรื่องไม่มีการใช้คำพูดหยอกล้อดูถูกเพศที่สามแบบในหนังไทยเรื่องอื่นๆที่มักจะเห็นจนชินตา หรือ ตุ้ดและกะเทยในหนังมักจะมีสภาพเป็นตัวตลกอยู่เป็นปกติวิสัยด้วยซ้ำไป
ความรักของเอก(ถิระ ชุติกุล) กับแฟนหนุ่มดูเหมือนเป็นความรักแบบต่างชนชั้นกันอย่างสิ้นเชิงเมื่อเอกทำงานหาเช้ากินค่ำและต้องเป็นเหมือนเสาหลักที่ต้องคอยจุนเจือครอบครัวที่มีทั้งป้าที่เชื่อในเรื่องการกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์มากกว่าจะทำอย่างอื่น ในสายตาของโอ้ต(อิงครัต ดำรงศักดิ์กุล) น้องชายพี่เอกเป็นเหมือนทั้งพ่อและฮีโร่ที่เขารัก ความรักของพี่ชายเขาก็อยู่ในสายตาของโอ้ตเช่นเดียวกัน หนังไทยเก่าน่าดู
ไจ๋แฟนหนุ่มของเอกมีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันอย่างลิบลับเขาเป็นลูกชายที่ดูมีอันจะกิน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่ได้ลำบากยากแค้นแต่อย่างใด และยิ่งไปกว่านั้นเมื่อวันเกณฑ์ทหารยิ่งใกล้เข้ามาถึงครอบครัวของไจ๋กลับเลือกจะใช้หนทางอย่างการติดสินบนเพื่อที่เขาจะได้รอดพ้นการเกณฑ์ทหารและได้กลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติ
(และเหตุการณ์นี้ก็เกิดขึ้นในสายตาของโอ้ตด้วยเช่นกัน)
ชีวิตที่ไม่มีทางเลือกผลักดันให้เอกต้องเผชิญชะตากรรมที่เขาไม่อยากจะไป แรงขับเคลื่อนของตัวละครเอกไม่ได้ปฏิเสธการไปเป็นทหาร แต่เขารู้ดีว่าถ้าช่วงเวลาที่เขาไม่อยู่บ้านใครล่ะจะเป็นคนหาเลี้ยงครอบครัวนี้เพราะเขาเป็นเหมือนทั้งเสาหลักและเป็นคนที่ต้องดูแลคนอื่นๆด้วย หนังไทยเก่าน่าดู
รีวิว พี่ชาย MY HERO
ในสายตาของโอ้ต พี่เอกเป็นฮีโร่สำหรับเขาเสมอ แต่แล้วความคิดดังกล่าวก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างราบคาบในฉากไคลแมกซ์ที่เขาได้พบความเป็นจริงอันโหดร้ายของชีวิตที่ว่าฮีโร่ของเขาก็ต้องพังและพ่ายแพ้อย่างราบคาบ และต้องจำนนต่อชะตากรรมที่ทำให้ชีวิต “ชนชั้นล่าง” ต้องกระเสือกกระสนในการทำทุกวิถีทางเพื่อเยียวยาปากท้องตัวเอง
หนังสือที่โอ้ตซื้อมาอย่าง “วิธีการเอาชนะหมากรุกทุกตา” How to Win At Checkers (Every Time) จึงเป็นการบอกคนดูอย่างแยบคายที่ว่าเมื่อโอ้ตเติบโตขึ้นมาเป็นวัยรุ่น (โทนี่ รากแก่น) ชีวิตและความเป็นอยู่ของเขาดูเหมือนจะแตกต่างกับในอดีตราวฟ้ากับเหว เขาเหมือนจะอยู่ในชีวิตที่สุขสบาย ทว่าในความฝันของเขานั้น “พี่ชาย”
ของตนก็ยังตามมาหลอกหลอนในสภาพ “ความตายและไฟที่ลุกไหม้” อย่างน่าสะพรึงกลัว ราวกับฮีโร่ที่จากโลกนี้ไปอย่างไม่มีวันกลับ
ความน่าสนใจของ พี่ชาย My Hero คือหนังมีบทภาพยนตร์ที่วิพากษ์วิจารณ์สังคมและระบบการเกณฑ์ทหารได้อย่างเถรตรง ฮุคหมัดเข้าเป้า
ยิ่งไปกว่านั้นการแสดงของทั้งน้องอิงครัต ดำรงศักดิ์กุลและถิระ ชุติกุล เรียกได้ว่าลุ่มลึก ทรงพลังและมีเสน่ห์ เกาะกุมหัวใจคนดูและใจหายวาบกับฉากไคลแมกซ์ของหนังเลยทีเดียวเปิดเลือกหนัง #Netflix ไปมา จนมาเจอกับหนังที่มีความผูกพันอย่าง “พี่ชาย My Hero”
หนึ่งในหนังที่อยู่ในเทศกาลภาพยนตร์ Bangkok gay & Lesbian Film Festival 2015 ซึ่งจัดโดยนิตยสาร attitude และเราก็เป็นหนึ่งในคณะทำงานที่วิ่งวุ่นจนหัวปั่นและอิ่มเอมกับการเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลเล็กๆ นี้ ว่าแล้วก็ขอรีรันสิ่งที่เคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ซะหน่อย และหวังว่าจะมีคนตัดสินใจเลือกเปิดดูมันบ้าง แม้ว่า “หน้าหนัง”
ที่เห็นใน Netflix อาจจะทำให้กดข้ามไปก็ตามที
เราเคยเอ่ยปากกับ จอช คิม ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ว่า เราประหลาดใจมากที่ได้เห็นว่าตัวหนังมีความเป็นไทยฉายชัดอยู่ในทุกองค์ประกอบ ทั้งๆ ที่ตัวผู้กำกับเป็นชาวต่างชาติ (จอช คิม เป็นลูกครึ่งเกาหลี-อเมริกัน) … ลองนึกถึงหนังหลายๆ เรื่องที่ผู้กำกับเป็นชาวต่างชาติ แต่ทำหนังไทยดูสิ มันจะมีมุมมองจากความเป็นคนนอกมองเข้ามาอยู่มาก
แต่กับ How to Win at Checkers (Every Time) หรือ “พี่ชาย My Hero” ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย
ที่น่าสนใจอีกประการคือ ถึงหนังจะได้รับความสนใจจากสื่อว่าเป็นหนังเกย์ แต่เอาเข้าจริงแล้ว หนังให้น้ำหนักกับความเป็นเกย์ของตัวละครในระดับบางเบา ก็เหมือนกับที่ตัวละคร
ในหนังมองว่าความสัมพันธ์ของผู้ชายกับผู้ชายเป็นเรื่องปกติธรรมดานั่นแหละ ไม่มีคนด่าทอ ล้อเลียน ดราม่าเรื่องเพศสภาพใดๆ เลย โดยหนังเทน้ำหนักไปที่ความสัมพันธ์ของ “เอก” พี่ชาย กับ “โอ๊ต” น้องชาย ที่เติบโตมาโดยอาศัยอยู่ป้า จุดเปลี่ยนมาถึงเมื่อหมายเกณฑ์ทหารถูกส่งมาถึงเอก หาก “ติด” ทหาร ใครจะดูแลโอ๊ต
แล้วไหนจะแฟนหนุ่มของเอกอีก แล้วเอกจะทำเช่นไร
ความรู้สึกหลังดู
ในการเล่าเรื่องอย่างเรียบๆ เรื่อยๆ และหลายครั้งเดาทางได้ แต่หนังก็ยังมีชั้นเชิงหลอกคนดูอย่างเราๆ รวมถึงการใส่ประเด็นแรงๆ เข้ามาอย่างเนียนๆ ทั้งเรื่องยาเสพติด การขายบริการทางเพศ ความหลากหลายทางเพศ คอรัปชั่นในการเกณฑ์ทหาร ฯลฯ การแสดงยอดเยี่ยมของสองพี่น้องในเรื่องแบกหนังได้สบายๆ มีเสน่ห์มาก! ทั้งคู่เลย!
และงานภาพก็สวยมาก (ทราบภายหลังว่าใช้ตากล้องเดียวกับ “It Gets Better ไม่ได้ขอให้มารัก”)
หนังจบลงพร้อมกับที่เรายังมีก้อนอะไรหนักอึ้งอยู่ในอก
สุดท้ายมันก็คือหนัง Coming of Age ที่ทำให้เราย้อนคิดถึงวัยเยาว์ของตัวเอง เราสูญเสียอะไรไปบ้างระหว่างทางเดินแห่งการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เราเลือกทางไหนวิธีไหนเพื่อมายืนอยู่ในจุดนี้ เราทำร้ายใครไปมากเท่าไหร่ โกงตัวเองไปกี่ครั้ง และเราเป็นผู้ใหญ่ที่ด้านชากับความโหดร้ายของโลกได้มากแค่ไหน ความยากไม่ได้อยู่ที่คำตอบ มันอยู่ที่การกล้า
ที่จะตั้งคำถามถามกลับกับตัวเองต่างหากหนังไทยในช่วงครึ่งปีแรกดูเหมือนจะซบเซาทั้งในแง่รายได้และคำวิจารณ์ครับ แต่ “พี่ชาย My Hero” หรือ How to Win at Checkers (Every Time) ที่เข้าฉายแบบจำกัดโรงในสุดสัปดาห์นี้ ได้สร้างความคึกคักด้านคำวิจารณ์ขึ้นมา และรอคอยผู้ชมที่จะช่วยสร้างความคึกคักด้านรายได้ให้อยู่ครับ
หนังบอกเล่าผ่านสายตาของโอ๊ต (โทนี่ รากแก่น)
ที่ย้อนนึกถึงตอนวัยเด็ก (อิงครัต ดำรงค์ศักดิ์กุล) ที่อยู่กันลำพังกับพี่ชายชื่อเอก (ถิร ชุติกุล) ในช่วงที่เอกต้องเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารซึ่งจะทำให้ต้องห่างจากโอ๊ตถึง 2 ปี โอ๊ตพยายามหาทางที่จะช่วยไม่ให้เอกไปเป็นทหาร แต่กลับกลายเป็นนำพาไปสู่เหตุการณ์ร้ายที่ยากจะคาดเดาซึ่งได้สอนให้โอ๊ตได้เข้าใจโลกมากขึ้น
ผมได้รวบรวมคำวิจารณ์จากเฟซบุกและทวิตเตอร์เท่าที่หาได้มาให้อ่านที่ด้านในเผื่อจะพิจารณาหนังเรื่องนี้เป็นตัวเลือกในสัปดาห์นี้และต่อๆ ครับในแง่ที่ว่า ถ้าจับได้ใบแดงก็ทำให้พี่น้องต้องพลัดพรากกันแม้จะมีคำว่า เป็นโอกาสได้รับใช้ชาติถ้าจับได้ใบแด่แต่กับครอบครัวที่เหลือกันอยู่สองพี่น้อง
(ผมนับแบบนี้เพราะป้าของเอกก็มีลูกที่ต้องเลี้ยงดูเหมือนกัน)และเอกเป็นผู้มีหน้าที่หารายได้จุนเจือครอบครัวถ้าให้เอกเลือกได้ เอกคงเลือกที่จะจับใบดำเพราะหน้าที่ที่บ้านยังมีอยู่ท่วมท้นถ้ามองอีกมุมหนึ่ง เราก็เห็นได้ว่าทหารเกณฑ์ก็เป็นการเสียสละในรูปแบบหนึ่งไม่ว่าจะอาสาสมัครที่จะเป็น หรือเผอิญจับได้ใบแดง
แล้วต้องไปเป็นก็ตามแม้ทหารเกณฑ์จะมีเบี้ยเลี้ยง แต่หนังก็เล่าออกมาอย่างชัดเจนว่ามันไม่พอหรอกครับ เมื่อเทียบกับรายได้ที่เอกทำอยู่ในระบบเอกชน
การเสียสละของเอกจึงเป็นการเสียสละของครอบครัวเอกด้วยเช่นกันน้องต้องขาดพี่ชายช่วยดูแล และต้องรบกวนป้าซึ่งมีลูกสาวต้องเลี้ยงดูอยู่แล้วมาดูแลน้องของเอกอีกคน
ทั้งนี้ที่เล่ามาทั้งหมดในมุมของเอกและครอบครัวการไปเป็นทหารเป็นผลเสียมากกว่าผลดี (ถึงได้เรียกว่าเสียสละ)แต่ถ้ามองในมุมระบบ และประเทศชาติ อาชีพทหารเป็นอาชีพหนึ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกันหนังอาจจะไม่ได้กล่าวไว้โดยละเอียด แต่ก็ทหารนั่นแหละที่รักษาความสงบในภาคใต้ อันเป็นจุดเกิดเหตุหลายอย่างในเรื่องผมมองย้อนไปถึงเรื่อง Snowpiercer ที่รีวิวไว้ก่อนหน้านี้บางทีในระบบก็ต้องมีคนเสียสละ เพราะถ้าไม่มีคนเสียสละเลย
ทั้งระบบก็อาจจะอยู่ไม่ได้เช่นกัน และระบบของประเทศเราก็มีทั้งระบบสมัครเป็นทหารและจับใบดำใบแดง ในกรณีที่มีคนสมัครไม่ครบนั่นเองหลังจากย่อหน้านี้ไปผมจะขอพูดถึงเรื่องจับใบดำและใบแดงในมุมมองที่ คนไม่อยากเป็นทหารแล้วต้องมาจับใบดำ/ใบแดง เหมือนกับที่หนังนำเสนอแล้วนะครับ
บทวิเคราะห์นี้ไม่ได้มีเจตนาจะบอกว่าเป็นทหารดีหรือไม่ดี จับได้ใบดำหรือใบแดง อันไหนโชคดีกว่ากันผมเขียนตามเนื้อหาในหนัง คือ เอกซึ่งมีหน้าที่ที่ต้องดูแลน้องและหารายได้เลี้ยงครอบครัวเอกจึงไม่ได้อยากจับได้ใบแดง เช่นเดียวกับน้องของเอกที่ไม่อยากให้เอกจับได้ใบแดงเช่นกัน
แม้จะบอกว่าเป็นเรื่องของดวง แต่หนังก็นำเสนอชัดเจนว่าเสี่ยมีอำนาจเพียงพอที่จะทำให้ลูกชายนักเลงของตนเอง รอดจากการเป็นทหารรวมไปถึง แฟนของเอกซึ่งพ่อแม่ติดสินบนให้กับเสี่ย เพื่อให้ช่วยเดินเรื่องให้จับได้ใบดำเช่นกันฉากที่แฟนของเอกลุกขึ้นไปนั่งอีกแถว เป็นอะไรที่พีคสุดๆเพราะเหมือนเอกไม่รู้มาก่อนด้วยซ้ำ ว่าแฟนของตนจะรอดจากใบแดงแน่นอน
การจับใบดำของกลุ่มคนผู้มีอิทธิพลหรือติดสินบนไว้ก่อนแล้ว เลยเหมือนกับพิธีกรรมเฉยๆเพื่อให้กระบวนการคัดเลือกจบๆไป โดยที่ตนไม่ต้องเป็นทหารลูกชายเสี่ยยังออกปากชวนแฟนของเอกไปปาร์ตี้กัน ตั้งแต่ยังไม่เริ่มกระบวนการด้วยซ้ำเพราะการจับได้ใบดำของคนกลุ่มนี้ มันไม่ใช่ดวง
ในขณะที่ของเอกนั้นขึ้นอยู่กับดวง แต่ก็ไม่ใช่ดวงทั้ง 100%เพราะสัดส่วนใบดำจำนวนหนึ่ง ถูกจัดโควต้าให้กับกลุ่มคนที่ไปจับทีหลังไว้ก่อนแล้วเปอร์เซนต์ที่เอกจะได้ใบแดงเลยสูงขึ้น เพราะใบดำในกระป๋องมีลดลงนั่นเอง
เราจะมองว่ากลุ่มคนที่ติดสินบน ชั่วร้ายมั้ย?มันก็คงใช่แหละ เพราะมันเป็นการทุจริตคอรัปชั่นและจากในเรื่องก็เห็นว่าเอาเปรียบคนอื่นอย่างเห็นได้ชัดแต่เราลองย้อนกลับมามองในฝั่งของครอบครัวเอกกันบ้าง ป้าก็บอกให้เอกไปขอให้เสี่ยช่วยน้องของเอกยิ่งแล้วใหญ่ ไปทุบรถเสี่ย เพื่อขโมยเงินมาติดสินบนเสี่ย
ที่จริงแล้วการกระทำเหล่านี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีเหมือนกันแต่ที่ไม่ได้ติดสินบน ไม่ใช่เพราะเป็นคนดีแต่ไม่มีเงินที่จะติดสินบนต่างหากนั่นทำให้โอกาสของคนสองกลุ่มไม่เท่ากันกลุ่มที่มีเงินติดสินบน และเลือกที่จะติดสินบนก็ได้ไปอยู่ในกลุ่มใบดำ100%ส่วนที่เหลือที่ไม่ติดสินบน ไม่ว่าจะด้วยความดี
หรือไม่มีโอกาส (ไม่มีเงิน) ก็มาอยู่กลุ่มที่ใช้ดวงต่อไป เมื่อต้องใช้ดวง สิ่งที่ทำได้ก็คือสวดมนต์ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บนบานศาลกล่าว จะเห็นว่าทุกคนในหนังเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือใบดำ (ก็แหงล่ะนะ เพราะถ้าอยากได้ใบแดงคงสมัครเป็นทหารไปเลย จะมาจับฉลากทำไมให้เสียเวลา)