รีวิว มหาลัย เหมืองแร่ (2005)

รีวิว มหาลัย เหมืองแร่ (2005)

ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. 2492 อาจินต์ ปัญจพรรค์ (พิชญะ วัชจิตพันธ์) นักศึกษาวิศวกรรมปี 2 ต้องโดนรีไทร์ออกจากมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่ง หลังจากวันนี้เขาจึงเดินทางจากภูเก็ตไปยังเหมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดพังงาเพื่อสัมภาษณ์ นายฝรั่ง (แอนโทนี โฮวาร์ด กูลด์) ที่เป็นเจ้าของเหมืองแร่ ที่นั่นเขาได้พบกับ ไอ้ไข่ (สนธยา ชิตมณี) หนุ่มใต้หน้าคมที่ทำงานอยู่ภายในเหมืองแร่และกลายเป็นเพื่อนรักกันในเวลาต่อมา ในเหมืองแร่ อาจินต์ทำงานเป็น ‘สมุดพก’ ให้กับนายฝรั่ง นั่นคือเขาจะต้องตามติดและมาทำงานแทนคนงานที่ลาหรือขาดงาน แน่นอนว่าในฐานะน้องใหม่แล้วเข้าจะต้องโดนอิจฉาหรือกลั่นแแกล้งแน่นอน และตั้งแต่วันนั้น บทเรียนชีวิตจริงของเราเริ่มต้นขึ้นและไม่สามารถหาความรู้เหล่านี้ได้จากห้องเรียน

ถึงเรื่องราวจะผ่านมานานมากแล้ว แต่หนังเรื่องนี้ก็ถูกยยกให้เป็นหนังสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทุกยุคทุกสมัยได้เสมอค่ะ เรื่องราวชีวิตในเหมืองแร่ที่เล่าผ่านมุมมองของอาจินต์จะดูราวกับว่าการทำงานในเหมืองแร่นั้นเป็นงานที่หนัก ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการเปลี่ยนผ่านชีวิตจากวัยเรียนเข้าสู้วัยผู้ใหญ่ การได้มาเจอโลกที่ไม่รู้จัก โลกที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน ซึ่งนอกจากแรงกายแล้วแรงใจก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราผ่านบทเรียนที่แสนสาหัสนี้ไปได้

เว็บดูหนัง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับหนังไทยหลากหลายแนวที่เรารวบรวมมาแนะนำเพื่อน ๆ มีเรื่องไหนที่เพื่อน ๆ ยังไม่เคยดูหรืออยู่ในลิสต์บ้างมั้ยคะ? ต้องยอมรับนะคะว่าเมื่อก่อนเราเนี่ยเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบดูหนังหรือซีรีส์ไทยสักเท่าไหร่ อาจจะเพราะเราอยากดูหนังฝรั่งเพื่อฝึกภาษาหรือเพราะพล็อตหนังไทยมันค่อนข้างจะเดาเนื้อเรื่องง่ายก็ไม่แน่ใจค่ะ

เราไม่ดูหนังไทยอยู่หลายปีเลยนะ จนกระทั่งวันนึงเราลองเปิดใจดูหนังเรื่องหนึ่งแล้วก็ค้นพบว่า เห้ย! หนังไทยสนุกขนาดนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่เนี่ย หลังจากนั้นเราก็ค่อย ๆ เปลี่ยนมาดูหนังไทยมากขึ้นและก็พบว่ามีหนังไทยอีกหลายเรื่องเลยค่ะที่วางเนื้อเรื่องได้ดี เดาทางยาก และมีโปรดักชั่นเทียบเท่าค่ายหนังต่างประเทศได้เลย

ยิ่งไปกว่านั้นหนังไทยหลายเรื่องยังได้รับคัดเลือกให้เข้าฉายในเทศกาลหนังอีกหลายประเทศด้วยนะคะ พูดขนาดนี้แล้วเพื่อน ๆ ต้องตามไปพิสูจน์ด้วยตัวเองแล้วนะคะ รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอน

ประเภท ดราม่า / คัมมิ่งออฟเอจ
เรทผู้รับชม 13+
ผู้กำกับ จิระ มะลิกุล
นักแสดงนำ พิชญะ วัชจิตพันธ์, ดลยา หมัดชา, สนธยา ชิตมณี, นิรันต์ ชัตตาร์ และแอนโทนี โฮวาร์ด กูลด์
ความยาวหนัง 111 นาที
ปีที่ออกอากาศ 2548

ด้วยคำสั่งของบิดา คนหนุ่มคนนี้นั่งรถฝ่าดงโคลนที่ชื้นแฉะจนทำรถติดหล่ม ผ่านพื้นที่แสนทุรกันดาร เข้าไปยังเหมืองแร่ห่างไกลความเจริญ ที่ อ.กระโสม จ.พังงา เพื่อหวังหางานทำเป็นบทเรียนชีวิต

ในช่วงเวลา 3 ปีกว่า เกือบ 4 ปี เขาได้เรียนรู้วิถีชีวิตที่แตกต่างจากที่เขาเคยรู้จักอย่างสิ้นเชิง จาก ‘คนเมือง’ ลูกข้าราชการในกรุงเทพ ต้องพลิกผันมาเป็น ‘คนเหมือง’ เป็นกรรมกรใช้แรงงานแลกค่าแรงจากนายฝรั่งวันละไม่กี่บาท ใช้ชีวิตแบบหาเช้ากินค่ำไปวันๆแบบไม่ต้องคิดถึงอนาคตมากนัก

อาจกล่าวได้ว่า เหมืองแร่กระโสมในฉากหลังเปื้อนควันสีน้ำตาลอ่อน ภายใต้แสงส้มของดวงตะวันยามเย็นและไฟเหลืองที่ห้อยอยู่ตามหลังคาเรือขุด เป็นมหา’ลัยชีวิตของอาจินต์ ปัญจพรรค์ คนหนุ่มผู้นี้ ที่นี่ เขาได้เรียนรู้ทักษะชีวิตมากมายที่ในมหาวิทยาลัยไม่มีวันสอนเขาได้

รีวิว มหาลัย เหมืองแร่ (2005)

เรื่องจริงที่ดัดแปลงมาจากชีวิตจริงของคุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ ที่ออกมาหาประสบการณ์ชีวิตในขณะที่ 22 ปี หลังโดดรีไทร์ออกจากมหาวิทยาลัยชื่อดังในประเทศและมุ่งหน้ามาหาประสบการณ์ชีวิตที่เหมืองดีบุกในอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา มันเป็นการค้นหาโลกอีกใบที่เขาไม่เคยสัมผัสในตำราเรียน

โชคดีที่เขาเรียนวิศวะมาทำให้เข้าใจภาษาอังกฤษและสื่อสารกับนายหัวเจ้าของแร่จนได้รับความไว้วางใจ มันคือการเรียนรู้ชีวิตจริงที่เราไม่สามารถไปหาที่ไหนได้เลย

ในปีแรกเขายังปรับตัวไม่ได้ แม้แต่จะหุงข้าวกินเองก็ยังทำไม่เป็นจนกลิ่นน้ำมันก๊าดซึมเข้าข้าวไปหมด ต้องอาศัยแกงจืดจากลุงแถวบ้านประทังชีวิต แม้รสชาติไม่อร่อยแต่บรรยากาศที่ได้นั่งซดน้ำแกงอยู่ใต้เพิงหมาแหงนพอให้คลายความคิดถึงบ้านลงได้บ้าง

แรกเริ่มเขาเป็นเพียงกรรมกรช่วยงานทั่วไปในเรือขุด ความรู้จากคณะวิศวะบวกกับการเป็นคนหนุ่มทำให้เขามั่นใจในตัวเองเสียหนักหนา แต่การณ์กลับกลายเป็นว่า แค่สั่งน็อตมาซ่อมเรือขุดเขายังเขียนรายการผิด ความไม่มีประสบการณ์ทำให้เขาต้องตั้งใจอย่างจดจ่อ

เรียนรู้จากคนอื่นๆที่แม้ระดับการศึกษาต่ำกว่าเขา แต่ก็ชินและช่ำของในงาน เรือขุดนี้มีพี่จอน ฝรั่งที่พูดสำเนียงใต้ไฟแล่บเป็นนายหัวเรือขุด หนังไม่ได้บอกว่าพี่จอนมาจากไหน รู้แต่ว่าแกเป็นคนสู้งานและคุมทุกคนได้อยู่ แกมีพรรคพวกที่คอยเดินตามเมื่อตรวจเรือขุด และดูเหมือนว่าเหมืองนี้เป็นเลือดเนื้อและชีวิตแก

วันหนึ่งเจ้านายฝรั่งให้อาจินต์คอยจับตามองขโมยที่จะมาขโมยแร่ที่เหมือง แม่อาจินต์เฝ้าอยู่ เขากลับเห็นพี่จอนกับพรรคพวกมาขนแร่ไป อาจินต์โกรธจัด เทศนาทุกคนว่าแร่นี้เป็นของนายฝรั่ง เพราะเครื่องมือเครื่องจักรและค่าแรงทุกอย่างเป็นของนาย แต่คนขนแร่กลับตอกกลับมาว่าแร่นี้อยู่ในแผ่นดินไทย ไม่สมควรให้ฝรั่งมาเอาไป ความขัดแย้งก่อตัวขึ้นชัดในใจอาจินต์เสียจนเขาเดินไปลาออกในวันรุ่งขึ้น หารู้ไม่ว่าเขาจะได้เรียนรู้อะไรบางอย่างจากบทเรียนนี้

เมื่อกร้านขวบวัยมากขึ้น อาจินต์ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นคนทำแผนที่ เขาได้ลูกมือมาช่วยคนหนึ่ง คือไอ้ไข่ ผู้ซึ่งยิ้มแย้มตลอดเวลาและมีนิสัยเหมือนเด็ก อาจินต์เล่าว่าเขาและไอ้ไข่แชร์วิถีประชาธิปไตยกันอยู่ เพราะตอนเช้าเขาจะเป็นคนเดินตัวปลิวไปเขียนแผนที่ แต่ตอนเย็นไอ้ไข่จะเป็นคนเดินมือเปล่านำหน้าไปก่อน

ด้วยเหตุผลว่า ‘เลิกงานแล้ว’ ไอ้ไข่กลายมาเป็นเพื่อนสนิทที่นั่งท้ายรถกระบะลุยโคลนไปกับเขา แหวกพงหญ้าเข้าไปวางไม้วัดพื้นที่ และยังเป็นเพื่อนในวงเหล้ายามเหงา น่าสังเกตว่าเหล้าเป็นสิ่งเชื่อมสายใยของคนในเหมืองที่เป็นผู้ชายล้วนได้อย่างดี แม้กระทั่งนายฝรั่งเองก็ยังดื่มจัดและตั้งวงกับคนงาน

พอเมาก็เอาเงินมาแจกเด็กชาวบ้านแถวนั้นไปซื้อเสื้อผ้า วิถีแบบลูกผู้ชายไหลเวียนอยู่ในสายเลือดที่มีแอลกอฮอล์ไหลเวียนอยู่ในนั้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

ดูหนัง

รีวิว มหาลัย เหมืองแร่ (2005)

ความรู้สึกหลังดู

ในภาพรวม หนังมหา’ลัยเหมืองแร่ให้ภาพเกี่ยวกับโลกการทำงานของชนชั้นกรรมาชีพได้อย่างโรแมนติก เล่าด้วยเหตุการณ์สั้นๆที่จบในตัวเองหลายเหตุการณ์ เพราะตัวหนังสร้างจากเรื่องสั้นชุด ‘เหมืองแร่’ ที่เป็นประสบการณ์จริงของอาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติ แต่ในความโรแมนติกนั้น ถ้าเรามองทะลุไป

เราจะเห็นความแร้นแค้นในชีวิตกรรมกร อาจินต์นั้นแทบไม่เหลือเงินสักบาทตอนเขาออกจากเหมืองแร่ เพราะเอาเงินไปซื้อเหล้าหมดแล้ว กรรมกรคนอื่นก็ระหกระเหินไม่ต่างกันเมื่อเหมืองแร่ปิด และต้องใช้ชีวิตแบบไม่รู้อนาคตและไม่รู้จะได้กลับมาเจอกันเมื่อใด ในความโรแมนติกที่เล่าจากสายตาชนชั้นกลางของอาจินต์

เราจะเห็นแง่ที่ไม่งามของมันได้จากคำขอของนายฝรั่งที่ให้อาจินต์สัญญาว่าจะไม่มาใช้ชีวิตแบบนี้อีก พร้อมซื้อตั๋วเครื่องบินให้เขากลับกรุงเทพ เมื่อลองคิดดูแล้ว หากอาจินต์เป็นเพียงกรรมกรคนหนึ่งที่มีฐานะเท่าๆกับกรรมกรคนอื่นๆที่เหมือง เขาอาจไม่ได้มองเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องโรแมนติกแบบ Good Old Day ก็ได้

เพราะเขาไม่มีตาข่ายกันตกที่ชื่อว่าครอบครัวเช่นชนชั้นกลางแบบอาจินต์ – อาจินต์ที่เป็นชนชั้นกลางนั้นมีบ้านให้กลับไปเสมอ และที่บ้านพร้อมจะให้การสนับสนุนเขาแม้เขาจะไม่มีงาน แต่กรรมกรทั่วไปไม่ได้เช่นนั้น พวกเขาไม่รู้ว่าจะหางานได้อีกไหม และจะมีข้าวตกถึงท้องอีกเมื่อใด คงไม่มีใครมีอารมณ์มาเขียนเรื่องเล่าชุดที่ตีพิมพ์จนขายดีแบบอาจินต์ได้

ในแง่หนึ่ง มหา’ลัยเหมืองแร่ และเรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ ที่กำกับและเขียนโดยชนชั้นกลาง จึงเป็นแค่การมองไปที่โลกของกรรมกรอย่างคนที่อยู่ข้างนอก ที่มาลิ้มรสความลำบากเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น เมื่อออกมาจากโลกแห่งนั้น เขาก็ยังมีที่ให้ไปต่อ ด้วยต้นทุนทางสังคมและการศึกษาที่มากกว่า

ตัวเนื้อเรื่องไม่ได้ผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมทางชนชั้นมากขึ้น เพราะยังคงมองชีวิตกรรมาชีพเป็นสิ่งแปลกใหม่ น่าพิศวง (Exotic) เพราะแตกต่างจากชีวิตคนเมือง อย่างไรก็ตาม หนังก็ได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ในการให้ความบันเทิงและตอบกลุ่มคนดูชนชั้นกลางได้ดี จนได้รับรางวัลหลายรางวัล และได้ขึ้นทำเนียบหนึ่งในหนังไทยที่ดีที่สุด

เว็บหนัง

รีวิว มหาลัย เหมืองแร่ (2005)

หน้าหนังอาจไม่ดึงดูดใจคนไทย พระเอกหน้าใหม่ในตอนนั้น ไม่ใช่ดาราบิ๊กเนมมาเป็นคนนำเรื่อง หนังไม่มีนางเอก เนื้อหาไม่มีความรัก เน้นความจริงประสบการณ์ชีวิตซึ่งตรงนี้แหละคือสิ่งที่ดีงามและเราคงหาไม่เจอแน่ๆจากหนังไทยเรื่องอื่นๆ การเล่าเรื่องทำให้คนได้รู้จักตัวตน อาจินต์ ปัญจพรรค์

เด็กหนุ่มจากเมืองหลวงที่มาทำงานเป็นกรรมกรเหมืองแร่ แถมยังได้เสียงตัวจริงมาบรรยายให้อีก ทำให้ได้เนื้อเรื่องที่ดูจริงจัง ภาษาสระสลวย ในแต่ละประเด็นที่เขาไปสัมผัสมาในแต่ละเหตุการณ์แต่ละชั้นปี แวดล้อมใหม่ ภาษาที่ไม่คุ้นเคย คนมากหน้าหลายตาที่สบประมาทในตัวเขา

ว่าง่ายๆคือประสบการณ์ชีวิตที่มาฝึกสอนให้เขาได้รู้จักกับความรับผิดชอบ ความอดทน ความเป็นมืออาชีพในการทำงาน ได้เรียนรู้มิตรภาพจากเพื่อนร่วมงาน ซึ่งหาไม่ได้จากมหาวิทยาลัย

สำหรับ มหา’ลัย เหมืองแร่ เป็นหนังที่เหมาะสำหรับคนที่ชอบเรืื่องราวที่เกี่ยวกับชีวประวัติบุคคลสําคัญ หนังดัดแปลงจากหนังสือที่เล่าให้เห็นชีวิตการต่อสู้ที่ยากลำบากของคน ที่ต้องเจอบททดสอบชีวิตที่แปลกใหม่แตกต่างไปจากสิ่งที่เคยเผชิญหน้ามา

อารมณ์ภาพจะสื่อสารออกมาดูเป็นธรรมชาติกว่าหนังไทยในท้องตลาด บวกกับการแสดงของ พิชญะ วัชจิตพันธ์ แบกเนื้อหาไว้ได้ยอดเยี่ยม สอดแทรกมุมมองใช้ชีวิตที่ไม่ได้อิงตำราเรียนไว้ได้คมคายเนื้อหาค่อนข้างสมจริงมาก

รีวิว มหาลัย เหมืองแร่ (2005)

หนังเล่าเรื่องได้ละมุนละไม ตั้งแต่งานสร้าง บทภาพยนตร์ นักแสดง งานภาพ งานตัดต่อ ทุกอย่างลงตัว หนังให้แง่คิดเตือนสติคนเราได้อย่างคมคาย การปรับตัวในการทำงานคือสิ่งสำคัญ เรียนรู้เข้าใจผู้อื่นที่เราต้องไปทำงานด้วย ทำให้เด็กเมืองกรุงได้เข้าใจชีวิตคนเหมืองที่ยากลำบาก

หนังปรุงแต่งให้เป็นธรรมชาติเหมือนไปสัมผัสช่วงเวลาปี 2492 เราได้เห็นวัฒนธรรมแบบคนใต้ การทำงานเหมืองแร่ที่แท้จริงมันเป็นอย่างไร ในยุคก่อนอยู่ในสภาพทุลักทุเลยากลำบาก สภาพอากาศทางใต้ฝนตกชุก เต็มไปด้วยโคลน ชีวิตก็เต็มไปด้วยความยากลำบาก ซึ่งตัวหนังทำหน้าที่ได้ดีงาม

มีเพลงประกอบที่บรรเลงให้เข้าถึงอารมณ์ดราม่ายุคเก่า ที่ดูจริงจังสร้างประสบการณ์ร่วมให้แก่ผู้ชมมากๆ มันทำให้เราได้เข้าใจเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของอาจินต์ ณ เหมืองแร่และทำให้เขามีแรงบันดาลใจจนกลายเป็นนักเขียนดังในเวลาต่อมา

ชื่นชมการเลือกนักแสดงนำที่โนเนมในเวลานั้น พิชญะ วัชจิตพันธ์ เราคิดว่าอินเนอร์ความเป็นธรรมชาติของคน มันจะมาจากตัวตนจริงๆไม่ต้องมาปรุงแต่งอะไร ทำให้เขาสวมบทบาท อาจินต์ได้เลย ความใส่ซื้อออกมาเต็มที่ แสดงให้เห็นภาพของชายหนุ่มที่เข้าใจโลกใบใหม่ ที่เขาไม่มีวันเจอแน่ๆ อยู่กับชาวบ้าน

บรรยากาศดูเถื่อน แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือความสุข ตัวละครดูจะท้อแท้สิ้นหวัง แต่ความรู้ความสามารถที่มีกลับซื้อใจเพื่อนร่วมงาน เจ้านายจนทำให้เขาได้เป็นหัวหน้า พูดเลยว่า พิชญะ สอบผ่านมากกับบทบาทนี้

รีวิวหนังไทยมาใหม่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *