รีวิว ละติจูดที่ 6
สวัสดีจ้าวันนี้แอดจะมารีวิวเรื่อง รีวิว ละติจูดที่ 6 ละติจูดที่ 6 ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในสถานที่จริงในจังหวัดปัตตานี สาเหตุที่ชื่อ “ละติจูดที่6” เป็นเพราะว่า เส้นรุ้งที่ 6 องศา พาดผ่านพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้พอดี รีวิวหนัง ละติจูดที่ 6 ความน่าสนใจของภาพยนตร์เรื่องนี้คือการฉายภาพให้เห็นความงดงามในพื้นที่ซึ่งคนไทยมองว่า คือ
พื้นที่อันตราย และเต็มไปด้วยความต่างของสภาพสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนา สายตาที่มองเข้าไปในพื้นที่นั้น จึงทำให้เรามักมองด้วยความไม่เข้าใจ แต่หนังเรื่องนี้อาจจะทำให้คุณมีความคิดมุมใหม่ เปิดใจ มองเห็น และ เข้าใจผู้คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากยิ่งขึ้น
ละติจูดที่ 6 เป็นเรื่องราวของหลากคู่ หลายความสัมพันธ์ต่างรูปแบบ เริ่มต้นจากการเดินทางของต้น ชายหนุ่มจากเมืองกรุงที่มีความฝันอยากทำเพลง แต่ต้องทำตามหน้าที่คือมาวางระบบคอมพิวเตอร์ให้กับธนาคารอิสลามในพื้นที่ปัตตานี
จนโชคชะตาพามาให้พบกับ ฟ้า หรือ ฟาติมะ สาวมุสลิม ที่มีพ่อเป็นครูสอนศาสนาผู้เคร่งครัดในจารีตและธรรมเนียมปฏิบัติแบบอิสลาม ในขณะที่ ชารีฟ กอเซ็ม และ เฟิร์น หนุ่มสาวในพื้นที่ปัตตานีก็เริ่มเบ่งบานความรักสามเส้าในแบบฉบับวัยรุ่น แตกแขนงปมชีวิตของแต่ละคนให้เข้าไปเกี่ยวโยงกัน
“…เสียงกีตาร์จากเมืองกรุง เคล้าไปกับเสียงไวโอลินจากแดนใต้ สอดประสานเป็นความสัมพันธ์ที่กลมกลืนระหว่างความต่าง…”
การเล่าเรื่องผ่าน ‘ต้น’ (ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล) เป็นการแทนสายตาของคนกรุงที่มองเข้าไปในพื้นที่ การเรียนรู้วิถี ชีวิต การปรับตัวให้เข้ากับคนในพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ทางศาสนา
ทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น มองเห็นในมุมที่เราอาจจะไม่เคยรู้ ไม่เคยได้ยินมาก่อน เกี่ยวกับคนในพื้นที่ การใช้ชีวิตท่ามกลางสภาพปัญหาที่เรื้อรังมากกว่า 10 ปี เป็นอย่างไร นอกจากนี้ยังแฝงวิถีชีวิตของชาวมุสลิม เช่น ลิเกฮูลู การดื่มชา การสังสรรค์ การทำพิธีทางศาสนา นิสัยใจคอของคนในพื้นที่ แม้หน้าตาจะดุดันหรือเสียงดังไปบ้าง แต่คนที่นั่นน่ารักและจริงใจทุกคน หนังเรื่องนี้สามารถทำให้เราสัมผัสอารมณ์และความรู้สึกของพวกเขาได้อย่างดี
“…ที่นี่มันอันตรายทำไมป๊ะยังไม่ยอมย้ายออกไปสักที
…ป๊ะเกิดที่นี่และป๊ะก็ขอตายที่นี่…”
ละติจูดที่ 6 เป็นหนังไทยที่อัดแน่นไปด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย ความรัก ความศรัทธา ความสูญเสีย และ กำลังใจ มีจังหวะการเดินเรื่องที่หล่อเลี้ยงอารมณ์คนดูไปตลอดทั้งเรื่องด้วยภาพสวยๆ โลเคชั่นคุ้งน้ำที่มัสยิดตั้งตระหง่านมีท้องฟ้าสีแดงส้มระเรื่อเป็นฉากหลังสวยงามราวกับภาพวาด สอดประสานไปกับสกอร์เพลงที่ทำให้เรายิ้มบ้าง ซึมบ้าง
ถือว่าเป็นการผสมอารมณ์หนังได้ค่อนข้างโอเคมากเลยทีเดียว จังหวะการเล่าเรื่องที่แปลกใหม่ การย้อนภาพความทรงจำ หรือ การเลือกใช้คำพูดที่งดงามสื่อสารให้เราได้เข้าใจถึงแก่นแท้คำสอนของศาสนาอิสลามความสวยงามของภาพยนตร์ละติจูดที่ 6 คือการผสมที่ลงตัวของภาพสวยๆ ดนตรีเพราะๆ บทพูดและคำสอน กลั่นออกมาเป็นหนังไทยน้ำดี
อีกหนึ่งเรื่องของปี 2558 รับรองว่าความยาว 2 ชั่วโมงของหนังเรื่องนี้จะทำให้เราอิ่มเอมไปกับสิ่งที่ปรากฎบนจอหนัง เมื่อหนังจบเราอยากจะเฝ้าภาวนาเพื่อความสงบสุขให้กลับคืนสู่ละติจูดที่ 6 อีกครั้งหนึ่งไปดู ละติจูดที่ 6 รอบพิเศษมาครับ เป็นหนังไทยที่ผมสนใจอยากดูมาก ซึ่งจากตัวอย่างหนัง ก็ทำให้ผมค่อนข้างคาดหวังว่า
ผมจะได้เห็นการนำเสนอประเด็นของ “ความอันตรายของพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้” ผ่านมุมมองความรักและความศรัทธาของพี่น้องมุสลิมชาวใต้
ซึ่งถือว่า หนังหยิบจับประเด็นภาคใต้มานำเสนอได้น่าสนใจสำหรับผม(และอีกหลายคน)
รีวิว ละติจูดที่ 6
ที่ไม่เคยลงไปสัมผัสพื้นที่เสี่ยงเหล่านั้น พูดๆง่ายก็คือหวังว่า จะได้เห็นความเลวร้าย โหดร้าย แต่ก็ยังเห็นถึงความสวยงาม จนไม่อยากจะทิ้งบ้านหนีไป นั่นแหละครับ
นานแล้วเหมือนกันที่ไม่ได้ดูหนังไทยแนวดราม่าเน้นๆแบบนี้ ปมปัญหาตัวละครระหว่างพ่อกับลูก เรื่องรักต่างศาสนาระหว่างพระเอกนางเอก และรักกุ๊กกิ๊กของเพื่อนวัยเด็ก
โดยนำมาเล่าผ่านฉากหลังที่เป็นจังหวัดปัตตานี และมีความเชื่อด้านศาสนาและชาวมุสลิมเป็นตัวเสริม
ชอบช่วงแรกของหนังมากๆ (30% แรก) หนังเปิดฉากเล่าเรื่องได้แบบ “ต่างจังหวัด” ดีจัง รู้สึกได้ถึงวิถีชีวิตชาวบ้านภาคใต้เลยล่ะ บรรยากาศอุ่นๆ สบายๆ แบบน่าไปอยู่
ไปเที่ยวจัง หาได้น้อยมากที่หนังไทยจะเล่าโดยเก็บรายละเอียดขนาดนี้ ซึ่งการมาของ ต้น (ปีเตอร์) ที่ต้องจากกรุงเทพ มาทำงานชั่วคราวที่ปัตตานี ก็เป็นเหมือนการนำผู้ชมที่ไม่เคยไปปัตตานี(เช่นผม) ที่เป็น 1 ในพื้นที่เสี่ยง ให้ไปร่วมพบเจอประสบการณ์ใหม่ๆพร้อมๆกับ ต้น นั่นเอง และอย่างที่บอกว่า 30% แรกนี้ ทำได้ดีเอามากๆเลย
แต่แล้ว หนังก็เล่าเรื่องแบบเรื่อยเปื่อยเกินไป ผ่านไปเป็นชั่วโมงแล้วก็ยังไม่รู้สึกว่า จะเล่าประเด็นอะไรเนี่ย หรือว่า “เอ๊ะ นี่เราต้องตามดูใคร” ทั้งๆที่ ตัวละครหลักคือ ต้น คือการเล่าเรื่องแบบหลายคู่ หลายความสัมพันธ์ มันก็ดีนะ แต่มันดูแยกกันมากๆ และก็เรือ่ยเปื่อยเกินไปในทุกๆคู่ จนมีฉากที่มารวมกัน มันดูแปลกๆแบบ “เฮ้ย รู้จักกันเหรอ” ฮ่าๆ
ที่แย่กว่านั้นคือ 40% หลังของเรื่อง เล่าผิวเผินมากครับ ไม่เจาะลึกทางอารมณ์เท่าไร บางฉากก็ราบเรียบเกินไปทั้งๆที่มันเป็นซีนอารมณ์ หนังบิ๊วมาดีตั้งแต่ต้นละ ตอนท้ายๆก็น่าจะขยี้อารมณ์ซะหน่อย แล้วบางปมที่ผูกไว้ ก็ไม่แก้หรืออธิบายอะไรเพิ่มเลย ซึ่งมันเป็นปมที่ผมอยากเห็น อยากรู้ซะด้วยสิ (ผมว่าสำคัญน่า) ผมว่า 40% หลังนี้ อะไรๆมันก็ดูง่ายไปหน่อย ราบเรียบทางอารมณ์ผิดกับช่วงครึ่งแรกมากเกินไปครับ “น่าเสียดาย”
สิ่งที่ชอบมากๆๆ คือ การถ่ายภาพครับ เรื่องนี้งานภาพสวยมาก มุมกล้องสวย เลือกแต่วิวสวยและ นักแสดงดูเท่ๆ กันทั้งนั้นเลย บอกได้เลยว่า เรื่องนี้ได้ งานภาพมาช่วยสื่ออารมณ์ได้เยอะ ความเพลิดเพลินอย่างนึงของเรื่องนี้ก็คือการดูภาพสวยๆนี่แหละครับ
ความรู้สึกหลังดู
ใบเฟิร์น แสดงได้ดีนะ น่าจะแสดงเยอะและหนักสุดในเรื่องแล้ว ซึ่งคู่ใบเฟิร์นกับซารีฟ นี่ดูแล้วก็นึกถึงการ์ตูนของ อ.อาดาจิ ผู้เขียน H2 จังเลย อารมณ์คล้ายๆกันเล๊ย
เด็กผู้หญิงที่เล่นเป็นหลานปีเตอร์ ก็น่ารักมาก ตัวแย่งซีนดีๆนี่เอง ส่วนนางเอก ผมว่าหน้าตาดูมีอายุไปนิด แต่การแสดงถือว่าโอเคเลยครับ ซีนอารมณ์ทำได้ดีกว่าซีนกุ๊กกิ๊กเยอะ
น่าเสียดายมากๆที่ หนังเรื่องนี้ นักแสดงผู้ใหญ่
แสดงสู้ฝ่ายเด็กๆไม่ได้เลยซักกะคน หนักสุดคือ พ่อของซารีฟ นี่แหละครับ ตั้งแต่คอลงมานี้ แข็งเป้กเลย
**ส่วนสิ่งที่ผมคาดหวังเอาไว้ก่อนดูนั้น บอกได้เลยว่า หนังไม่ได้ตอบโจทย์อะไรที่ผมต้องการเลย ฉากหลังปัตตานีเป็นเพียงอะไรที่จางมากๆ เล่นกับปัญหาภาคใต้แค่ผิวเผินแบบสุดๆ ความตื่นเต้นของฉากระเบิดไม่มี ความโหดร้ายหรืออินกับการสูญเสียก็ไม่มี หรือผู้สร้างตั้งใจให้เป็นงี้หรือเปล่าก็ไม่รู้นะ แต่ น่าเสียดายชะมัดเลย**
โดยรวมแล้ว ก็ไม่ได้เป็นหนังที่แย่อะไร เพราะมันก็พอมีส่วนที่ดีมาเสริมอยู่ แต่ก็ไม่ใช่หนังที่ดีมากมายนัก เพราะจุดด้อยในแง่ของบทก็มีมากอยู่ และการเล่นกับอารมณ์ความรัก ความศรัทธาของชาวมุสลิมที่ปัตตานี ก็ยัง “ทำไม่ถึง” เท่าไรด้วย หนังเล่าเรื่องเรื่อยเปื่อยไปหน่อย กว่าจะมีประเด็นให้ติดตามก็เกือบจบหนังแล้ว บวกกับใช้ปัตตานีได้ผิวเผินสุดๆ เลยทำให้หนังธรรมดาเอามากๆ ยังดีที่ภาพสวยมากและ นักแสดงเล่นกันดีอยู่
ละติจูดที่ 6 เริ่มเรื่องราวที่ “ต้น” (ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล) หนุ่มกรุงเทพที่มีเหตุให้ต้องย้ายมาทำงานที่ปัตตานี เขาเดินทางมาพร้อมกับหลานสาว “ฝ้ายฟู” (ชินารดี อนุพงษ์ภิชาติ น้องใยไหม) เขามีความหวั่นวิตกอยู่บ้างกับข่าวความไม่สงบในภาคใต้ และยังไปตกหลุมรักกับ “ฟ้า” (โบว์ลิ่ง ปริศนา กัมพูสิริ) ครูสาวชาวมุสลิมที่อยู่โรงเรียนประถมของฝ้ายฟู โดยมีอุปสรรคสำคัญคือ “ครูฮัตซัน” (สหัสชัย ชุมรุม) พ่อของฟ้า เขาเป็นมุสลิมที่เคร่งในศาสนามาก และไม่ต้องการให้ลูกสาวยุ่งเกี่ยวกับหนุ่มนอกศาสนา
และเรื่องราวรักสามเส้าของ “ชารีฟ” (เม้าส์ ณัฐชา)
เด็กหนุ่มนักกีฬาปันจักสีลัตของโรงเรียนที่ตกหลุมรักเพื่อนสนิทอย่าง “เฟิร์น” (มายด์ วิรพร) เด็กสาวนักจัดวิทยุชุมชน ซึ่งเพื่อนของเขาอีกคน ก็ดันตกหลุมรักเฟิร์นด้วยเช่นกัน
ละติจูดที่ 6 หนังไทยโรแมนติกดราม่าที่มีเรื่องราวชีวิตในสามจังหวัดชายแดนใต้เป็นแบ็คกราวด์ เชื่อว่าเมื่อได้ยิน “สามจังหวัดชายแดนใต้” คนไทยอย่างเราๆ ก็รู้สึกสนใจในการเล่นประเด็นนี้ เพราะเป็นประเด็นที่รุนแรงและละเอียดอ่อน ไม่ค่อยได้เห็นคนทำหนังบ้านเราหยิบจับเรื่องราวนี้ขึ้นมาเล่าถึงสักเท่าไหร่ จะมีอย่าง โอเคเบตง ซึ่งก็เมื่อนานมาแล้ว หนังเรื่องนี้จึงเป็นไอเดียที่น่าสนใจมาก
สิ่งที่น่าชื่นชม คือ การเล่าเรื่องผ่านสายตาของตัวพระเอก ในฐานะคนกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นตัวแทนความรู้สึกของเหล่าคนดูส่วนใหญ่ที่จะมีความหวั่นวิตกแบบเดียวกันหากต้องเข้าไปอยู่ในพื่นที่เสี่ยงนี้ และมีการนำเสนอเรื่องราวของขาวไทยพุทธกับไทยมุสลิมได้อย่างลงตัว โดยหยิบเอาชีวิตของคนกลุ่มหนึ่งมาเล่า
เพื่อปรับมุมมองว่าชาวบ้านยังใช้ชีวิตอยู่ได้ค่อนข้างเป็นปกติ และไม่ได้อันตรายอย่างที่ทุกคนคิด พร้อมกับฉากโลเคชันสวย ๆ ในเรื่อง ที่ต้องบอกเลยว่า สวยจริง ๆ
แต่ส่วนที่ผิดหวังที่สุด คือ ประเด็นการนำเสนอที่อ่อนเกินไป
เพราะสิ่งที่คนดูคาดหวังจากการดูหนังเรื่องนี้ คือ ความดราม่าจัดหนัก หรือประเด็นความขัดแย้งที่ใหญ่กว่านั้น หนังเลือกที่จะเล่าเพียงแค่ความขัดแย้งระดับบุคคลเท่านั้น อย่างการรักข้ามศาสนา
หรือความใฝ่ฝันในชีวิต แต่หากให้มองอีกมุมว่านี่คือเรื่องราวความรัก วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น ก็ยังเป็นการเล่าแบบผิวเผิน ไม่รู้สึกอินใด ๆ บางอย่างถูกจับใส่เข้ามาแบบยัดเยียด อีนุงตุงนังไปหมด บทและการเล่าเรื่องขาดชั้นเชิง ทั้งความรัก ความขัดแย้ง ดูงงๆ เหมือนพามาหลงอยู่ในปัตตานี