รีวิว วอน (เธอ)

รีวิว วอน (เธอ)

แม้หนังไทยทุกปีที่ออกฉายจะมีหนังรักเป็นหนึ่งในตัวเลือกสำคัญเสมอแต่ก็น้อยเรื่องที่จะเลือกเล่า 1 เหตุการณ์ในมุมมองของตัวละครแต่ละตัวที่แตกต่างกันโดย รีวิวหนัง วอน (เธอ) ที่เคยทำประเด็นนี้ได้โดดเด่นที่สุดคงหนีไม่พ้น fake โกหกทั้งเพ (2546) ที่เคยถูกพูดถึงในแง่การออกแบบงานภาพได้อย่างโดดเด่นและปีนี้ วอน(เธอ) ก็มาในคอนเซปต์ที่ใกล้เคียงกันอย่างน่าตกใจ

หนังเลือกใช้ เนเน่ (ฟ้า ษริกา)สาวสวยเสน่ห์แรงเป็นศูนย์กลางของเรื่องที่มีหนุ่ม ๆ ต่างหมายปองในตัวเธอ ทั้งเดียว (มีน พีรวิชญ์) หนุ่มขี้อายที่หลงรักเนเน่ตั้งแต่แรกเห็น บิว (พีค ภีมพล) เพื่อนรักของเดียวที่เป็นตัวแปรสำคัญในความสัมพันธ์ครั้งนี้และโอม (เซ้นต์ ศุภพงษ์) หนุ่มหล่อเพลย์บอยที่มาทีหลังแต่กลับสานสัมพันธ์กับเนเน่อย่างรวดเร็ว

แต่เมื่อความรักของเนเน่มีให้ได้แค่คนเดียวสุดท้ายเธอจะเลือกใครและความสัมพันธ์ครั้งนี้จะมีบทสรุปเช่นใด

วอน (เธอ) เป็นผลงานกำกับเรื่องแรกของ ชิง สุโกสินทร์ อัครพัฒน์ ที่เคยอยู่เบื้องหลังบทหนังในซีรีส์ตีสามของไฟว์สตาร์มาก่อน และต้องบอกว่าการเลือกเล่าหนังในมุมมองตัวละครแต่ละตัวต่อ 1 เหตุการณ์​ที่ให้ผลลัพธ์ต่างกันก็นับว่าทะเยอทะยานไม่น้อยแถมยังออกแบบงานศิลป์ทั้งการจัดแสงและงานอาร์ตแบบแยกสีตัวละครก็ถือเป็นเหมือนทายาทห่าง ๆ ของ Fake โกหกทั้งเพ ไม่น้อยเลย.

เว็บดูหนัง

แต่กระนั้นสิ่งที่บล็อกไม่ให้มันไปสู่เป้าหมายอย่างงดงามก็คือบทภาพยนตร์นี่แหละครับคือพอดูหนังที่ความยาวร่วม 2 ชั่วโมง 4 ตัวละครที่วนเวียนแต่เรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ โดยที่ตัวละครไม่ได้มีพัฒนาการอะไรเลยสักตัวมันเลยเหมือนเรากำลังพายเรือวนในอ่างไม่ไปไหน
แม้หวังว่าสุดท้ายเราจะเข้าใจตัวละครแต่ละตัวมากขึ้นบ้างแต่สุดท้ายเราก็ไม่ได้รู้จักตัวละครมากขึ้นเลยเมื่อหนังจบจนน่าเสียดายคอนเซปต์ในการถ่ายทอดเรื่องราวที่ถูกคิดมาอย่างดีแถมในบางจังหวะพอหนังเปลี่ยนมุมมองการเล่าเรื่องเราจะเห็นช่องโหว่ในการลำดับเหตุการณ์ที่ดูสับสนจนงงว่าเหตุการณ์ไหนมาก่อนเหตุการณ์ไหนกันแน่จนขาดความสมเหตุสมผลไปหน่อย
อีกจุดหนึ่งที่อาจพอให้อภัยได้แต่มันก็เป็นแผลเป็นที่เหวอะหวะจริง ๆ ก็คือการแสดงนี่แหละครับบางทีผู้กำกับอาจดีไซน์ตัวละครแบบอยากให้คนดูรักตัวละครมากไปหน่อยจนมันดูฝืน ๆ อย่างบทเดียวที่ไม่ได้ให้มีน พีรวิชญ์ทำอะไรไปมากกว่าการเป็นหนุ่มขี้อายน่ารัก ๆ ที่ช้ำรักหรือโอมที่พีค ภีมพลนอกจากโชว์หน้าหล่อ ๆ และร้องไห้ปลอม ๆ แล้วหนังก็แทบจะไม่ได้ท้าทายความสามารถอะไรของเขาออกมาสักเท่าไหร่
ส่วนฟ้า ษริกาผมยอมรับนะครับว่าเธอสวยและหนังก็ทำให้เธอรู้ตัวตลอดเวลาว่าเธอสวย จนจริตจะก้านอะไรดูสวยไปหมดแต่พอดูไปนาน ๆ แล้วมันก็ออกมาฝืนอยู่ดี และจุดบอดจากบทภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องจากหลายมุมมองก็ทำให้คาแรกเตอร์เธอไม่นิ่งสุดท้ายแทนที่หนังจะทำให้เราเห็นใจหรือเข้าใจในเหตุผลการตัดสินใจของเธอมากขึ้นสุดท้ายก็กลายเป็นหลุมดำอยู่ดี

แต่กระนั้นนักแสดงคนเดียวที่ฝากผลงานการแสดงไว้ได้น่าประทับใจอย่างไม่น่าเชื่อกลับกลายเป็นพีค ภีมพลในบทบิว ตัวละครที่ซับซ้อนและชวนคนดูสำรวจเพศสภาพอันเลื่อนไหลได้อย่างเป็นธรรมชาติแม้สุดท้ายบทหนังจะไม่สามารถพาตัวละครของเขาไปสู่ประเด็นที่อยากพูดถึงได้อย่างสมบูรณ์ก็ตาม และไม่พูดถึงไม่ได้คือนักแสดงสมทบอย่างพี่อิงค์

อชิตะ ปราโมช ณ. อยุธยาในบทพ่อของเดียว กับบทพูดคม ๆ ที่แม้ออกมาไม่กี่ฉากแต่น่าจดจำเสมอ รวมถึงพี่เมย์ ภัทรวรินทร์ ทิมกุล ในบทแม่ของบิวที่ทั้งงดงามและให้การแสดงที่ไม่เสียชื่อสุดยอดนักแสดงมากฝีมือ

ขอชวนคุยเรื่องเพลงประกอบทิ้งท้ายซึ่งเราเห็นความตั้งใจของผู้กำกับไม่น้อยเลยที่พยายามจะดีไซน์การใช้เพลงประกอบหนังจากเพลงดังซึ่งแม้ในตัวอย่างหนังเราจะได้ยินเสียงน้องวันเดอร์เฟรมในเพลง วอน ฉบับรีเมกที่ดูทันสมัยและมีกลิ่นอายของเพลงแรปตามสมัยนิยม

แต่กระนั้นกลับเป็นเพลงดังยุค 90-2000 อย่าง สองใจ ของพี่ตุ้ยธีรภัทรที่หนังเอามาเป็นเพลงธีมในการเล่าเรื่องราวของหัวใจที่กำลังค้นหาคำตอบของเนเน่ซึ่งเอามาดีไซน์ใหม่ได้เอ่อ…ชวนอึดอัดมากครับ 555 หรือเราอาจจะคุ้นกับเวอร์ชันพี่ตุ้ย ธีรภัทรมากไปหน่อยก็ได้แต่พอมาทำใหม่แล้วกลับรู้สึกเหมือนคนร้องกำลังอมไมโครโฟนอยู่ยังไงไม่รู้ 555

แต่กระนั้นในส่วนของเพลงอื่น ๆ ก็ทำได้ดีนะครับโอบอุ้มบรรยากาศของหนังได้ดีทีเดียวและมันก็ไปกับงานดีไซน์เรื่องการจัดสีให้แต่ละตัวละครได้เป็นอย่างดีซึ่งนับเป็นจุดที่น่าชื่นชมของหนังควบคู่กับการใช้โลเคชันที่แปลกใหม่ได้อย่างน่ามองไม่น้อยเลยทีเดียว

รีวิว วอน (เธอ)

เรื่องราวที่ว่าด้วยเรื่องของวัยรุ่น ช่วงหลังมักถูกถ่ายทอดเรื่องราวในแบบซีรีส์มากกว่าภาพยนตร์ เพราะมีเวลาในการเล่าเรื่องได้มากกว่า เลี้ยงกระแสความนิยม และการติดตามจากแฟนคลับได้นานกว่า จนปัจจุบันนั้นมีหลายเรื่องหลายแนวให้เลือกดู นั่นทำให้การมาของหนังไทยส่งท้ายปีเรื่อง วอน (เธอ) หนังที่ว่าด้วยเรื่องความรักในวัยรุ่น ที่ถูกบอกเล่าผ่านหลายมุมมอง จึงมีความน่าสนใจขึ้นมาทันที

ภายใต้นิยามว่า “เพราะความรัก… ไม่ได้มีแค่ด้านเดียว” ทำให้หนัง วอน (เธอ) ถูกบอกเล่าเรื่องราวผ่าน 4 คน 4 มุมมอง ของกลุ่มเพื่อนนักศึกษา ที่ให้บังเอิญว่า เพื่อน 3 คน แอบหลงรักผู้หญิงคนเดียวกัน เริ่มจาก เดี่ยว (มีน-พีรวิชญ์) เพื่อนที่แอบปลื้มและพร้อมทำทุกอย่างเพื่อเนเน่ ต่อด้วย โอม (เซ้นต์-ศุภพงษ์) หนุ่มแบดบอยเสน่ห์แรงที่หวังจะกลับใจ

เมื่อเจอเนเน่ แต่เขาจะทำได้ไหม? จนมาถึง บิว (พีค-ภีมพล) เพราะรู้ว่าเพื่อนแอบชอบเนเน่อยู่ จึงทำให้คิดกับเนเน่ได้แค่เพื่อน และท้ายที่สุดกับ เนเน่ (ฟ้า-ษริกา) สาวสวยดาวคณะที่ใครๆ ต่างก็หลงรัก ผู้หญิงที่เป็นจุดศูนย์ของเรื่อง และเป็นบทสรุปของทุกความสัมพันธ์

ข่าวแนะนำ
หลับเถอะนะ “นิดา”
“เคลีย์ คลาร์กสัน” ถึงหย่าสามีก็ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูไม่รวมแบ่งสมบัติอีก 5%
“เซ้นต์ ศุภพงษ์” เซ็นสัญญาเป็นนักแสดงช่อง 3 พร้อมเซอร์ไพรส์จากแฟนคลับ

การเล่าเรื่องเหตุการณ์เดียวผ่านมุมมองของตัวละครที่แตกต่างกัน ความสนุกของวิธีการเล่าเรื่องแบบนี้อยู่ตรงที่การเล่นกับความแตกต่างผ่านมุมมองของแต่ละตัวละคร เป็นรูปแบบการเล่าเรื่องที่ท้าทายให้คนดูค่อยๆ ต่อจิ๊กซอว์จากแต่ละเรื่องราว ในตอนท้ายอาจเฉลยให้เห็นเรื่องราวที่ถูกต้องที่สุด หรืออาจไม่ให้เห็นเลยก็ได้ เป็นภาระของคนดูที่ต้อง

ดูหนัง

รีวิว วอน (เธอ)

ความรู้สึกหลังดู

ตีความและทำความเข้าใจเอาเอง..
อาจเพราะประเด็นหลักของเรื่องวนเวียนอยู่กับเรื่องราวความรัก ความพยายามเผยความในใจ การพิสูจน์ตัวเอง การไม่ได้ปูพื้นตัวละครให้คนดูรู้จักมากพอ การเล่าเรื่องเฉพาะช่วง

ที่เกี่ยวข้องกับตัวละครในตอนของตัวเอง ที่ยังไม่ทันไต่กราฟความน่าสนใจและน่าติดตามได้เพียงพอ แต่เหมือนเป็นภาคบังคับ ที่ต้องพาตัวละครไปสู่บทสรุปในตอนของตัวเองให้ได้ทำให้บางช่วงบางตอน เราอาจไม่สามารถทำความเข้าใจกับการแสดงออกของตัวละคร โดยเฉพาะช่วง 2 ตอนแรกของหนัง

เรื่องของเดี่ยวและโอม หนังมาดีขึ้น ช่วง 2 ตอนหลัง กับเรื่องของบิวและเนเน่ ที่องค์ประกอบของเรื่องราวเริ่มเข้าที่เข้าทาง ซึ่ง 2 ตอนหลังนี่เอง ถึงทำให้รู้สึกว่าได้ดูหนังเรื่องนี้จริงๆ (เสียที)

งานกำกับของ สุโกสินทร์ อัครพัฒน์ ถือว่าน่าสนใจกับการเล่าเรื่องราวจาก 4 มุมมอง มันมีความท้าทายและดูเหมาะกับหนังที่เกี่ยวกับวัยรุ่น แต่ว่าเอาเข้าจริงๆ รู้สึกว่าบทภาพยนตร์ไม่ได้แข็งแรงพอที่จะใช้วิธีนี้ จนรู้สึกว่าหากเลือกวิธีการเล่าเรื่องในแนวทางปกติ ให้เวลากับการสร้างตัวละครให้คนดูรู้สึกอิน ไปจนถึงรักในตัวละคร (ซึ่งนักแสดงแต่ละ

คนทำหน้าที่ได้ดีแล้ว) เมื่อพาไปสู่บทสรุป น่าจะทำให้เรื่องราวมีมิติลงตัวมากกว่าที่เป็นอยู่
อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่ทำให้หนัง วอน (เธอ) โดดเด่นขึ้นมาและเป็นส่วนหนึ่งที่ประคับประคองหนังตลอดเรื่อง ก็คือ องค์ประกอบศิลป์และเพลงประกอบที่นำเสนอออกมาได้ดี

ส่งผลต่ออารมณ์ของเรื่อง เป็นเหมือนตัวแทนบอกเล่าอารมณ์ความรู้สึกของแต่ละตัวละคร แม้บางครั้งแอบรู้สึกว่าเหมือนกำลังดูมิวสิกวิดีโออยู่ก็ตาม

โดยสรุปแล้ว วอน (เธอ) อาจไม่ใช่หนังที่ดูสนุก หรือลงตัวนักสำหรับทุกคน (จะว่าไปเมื่อดูจากทีมนักแสดงนำ ก็รู้ว่าหนังเลือกจะสื่อสารกับใคร) แต่หนังก็สามารถถ่ายทอดดราม่ามิตรภาพระหว่างเพื่อน-ความรัก ที่วัยรุ่นต้องเผชิญ เรียนรู้ และก้าวผ่านได้ดีพอสมควร

วอน (เธอ) เลือกจะเปิดเรื่องราวมาด้วยการใช้ประโยคที่ว่า “เพราะทุกคนย่อมเป็น พระเอก นางเอก ในเรื่องของตัวเองเสมอ” ก่อนที่จะตัดแบ่งเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมด ผ่านมุมมองของตัวละครทั้งสี่อันประกอบไปด้วย เดี่ยว (มีน-พีรวิชญ์ อรรถชิตสถาพร) โอม (เซ้นต์-ศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนา) บิว (พีค-ภีมพล พาณิชย์ธำรง) และปิดท้ายด้วย เนเน่ (ฟ้า-ษริกา สำรทศิลป์ศุภา)

เว็บหนัง

รีวิว วอน (เธอ)

การที่หนังเลือกจะเล่าเรื่องราวของเดี่ยวก่อน คือการทำให้คนดูเห็นว่าการที่ชายคนหนึ่งตกหลุมรักผู้หญิงสักคนนั้น เขาต้องใช้ความพยายามมากแค่ไหนในการทำให้เธอชอบ แม้ว่าความเป็นจริงแล้วอีกฝ่ายอาจจะไม่ได้คิดอะไรกับเขาเลยก็ตาม

อย่างที่บอกเมื่อหนังเลือกจะเสนอเรื่องราวความรักผ่านสายตาของตัวเอกแต่ละตัว ตัวละครในแต่ละพาร์ทจึงจมจ่อมอยู่กับความคิดของตัวเองและมองว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นคือสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว กลอุบายที่หนังวางเอาไว้จึงเริ่มสัมฤทธิ์ผลในเรื่องราวของคนต่อๆมาที่พลิกความรู้สึกของคนดูว่า จริงๆแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวละครก่อนหน้านั้น ความเป็นจริง “เรื่อง

จริง” ที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะไม่ได้เป็นไปตามมุมมองของตัวละครอีกคน
จุดเซอร์ไพรส์ประการสำคัญคือการแสดงของฟ้า-ษริกา สำรทศิลป์ศุภา ในบทของเนเน่ที่ทำให้เรามองเห็นว่า การที่เธอเป็นผู้หญิงคนหนึ่งในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต จะ

เป็นวัยรุ่นก็ไม่ใช่จะเติบโตเต็มวัยไปเป็นผู้หญิงเต็มตัวก็ยังไม่ชัวร์ ทำให้เราได้เห็นมิติของตัวละครนี้ผ่านผู้ชายทั้งสามคน ที่ “ทั้งมองและปฏิบัติต่อเธอ” ในแง่มุมที่ต่างกัน แถมในเส้นเรื่องของแต่ละคน เนเน่ของเดี่ยว โอมและวิว ก็เป็นคนละเวอร์ชั่นกัน ในแง่ของการแสดงเล็กๆน้อยๆ ที่เรียกได้ว่าเป็นงานละเอียดในการแสดง (เพราะถ้าเล่นใหญ่ เล่นต่างตัวละครนี้จะกลายเป็นคนหลายบุคลิกทันที)

รีวิว วอน (เธอ)

ก่อนที่เรื่องราวทั้งหมดจะเดินหน้าไปสู่บทสรุปว่า “ทำไม” และ “เกิดอะไรขึ้นกับเนเน่” ระหว่างทางของหนังก็เปิดโอกาสให้นักแสดงชายแต่ละคนได้รับโอกาสในการโชว์สกิลด้านการแสดงอยู่ไม่น้อย ซึ่งคนที่โดดเด่นที่สุดน่าจะเป็นพีค-ภีมพล พาณิชย์ธำรง ในบทบิวเพื่อนสนิทของเดี่ยว ที่พยายามเป็นคนกลางในการคอยช่วยเหลือเพื่อนตัวเองให้สมหวัง

ในความรัก ทั้งที่ลึกๆในใจเขาก็ยังอะไรบางอย่างที่ไม่อาจจะพูดออกไปได้เช่นกัน
หากใครที่มองว่าหนังไทยกระแสหลักปีนี้ดูไม่มีอะไรน่าสนใจ วอน(เธอ) อาจจะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจครับ

สรุปโดยภาพรวมแล้ว วอน(เธอ) จึงเป็นภาพยนตร์ที่ด้านเนื้อเรื่องนั้นทำออกมาได้กลางๆ น่าประทับใจในความพยายามสร้างเรื่องแบบหลากมุมมอง นำมาปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน แต่ท้ายที่สุดก็ยังไปไม่ถึงฝัน ประเด็นเรื่องนั้นเชยและจืดจาง บทสรุปเรื่องก็ไม่ได้พีคและใหม่ขนาดนั้น หลักๆ หนังทำให้เหมือนดูเอ็มวีประกอบเพลงขนาดยาวกว่าสองชั่วโมง ตัว

หนังนั้นเน้นอารมณ์ที่หนักไปทางความเศร้ามากกว่า ซึ่งก็ทำได้โอเค ส่วนการแสดงของนักแสดงนั้นก็ถือว่าใช้ได้สำหรับน้องใหม่ในวงการภาพยนตร์ ขณะที่โปรดัคชั่นโดยภาพรวมนั้นทำออกมาได้ดีมาก ไล่ไปตั้งแต่เรื่องการออกแบบฉากและเสื้อผ้าหน้าผมให้เข้ากับบุคลิกตัวละคร และหนังเองใช้สีนำเสนอฉากต่างๆ ได้ยอดเยี่ยมมาก…

ใครเป็นคอหนังรักไทยอารมณ์เศร้า ชอบหนังที่มีเพลงไทยประกอบเรื่องมากมาย ชอบนักแสดงนำแต่ละท่านในหนังเรื่องนี้เป็นพิเศษ

รีวิวหนังไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *