รีวิว องค์บาก (2003) Ong Bak

รีวิว องค์บาก (2003) Ong Bak

โชว์ศิลปะการต่อสู้แบบไทย ๆ พร้อมเนื้อเรื่องที่สนุกน่าติดตาม
หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย โทนี่ จา หรือ จา พนม สุดยอดนักแสดงหนังบู๊ ด้วยฝีมือในเรื่องของศิลปะการต่อสู้แบบไทย ๆ และทักษะด้านการแสดงที่ดีเยี่ยมของเขา ทำให้หนังเรื่ององค์บากสามารถกวาดความนิยมไปทั่วโลก และยังเป็นหนังแอ็กชันคลาสสิกแห่งวงการหนังไทย นอกจากการบู๊และแอ็กชันสุดสนุกแล้ว ยังมีหม่ำ จ๊กมก มาช่วยสร้างเสียงหัวเราะให้กับหนัง ถือเป็นเรื่องที่บาลานซ์ความบู๊ ความสนุกและความดราม่าอื่น ๆ ได้อย่างลงตัว

ประเภทของหนัง
Action / Crime / Thriller
นักแสดงนำ
จาพนม ยีรัมย์, เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา, ภุมวารี ยอดกมล
ปีที่เข้าฉาย
2003
ความยาวของเรื่อง
105 นาที

เว็บดูหนัง

‘องค์บาก’ ถือว่าเป็นหนังไทยที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในตลาดโลก แม้ว่าความสำเร็จนี้ยังไม่มากเท่าหนังต่างประเทศอีกหลายเรื่องของหลายชาติ แต่เป็นความสำเร็จสูงสุดของหนังไทยในรอบประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ของประเทศไทย โดยช่วงสัปดาห์แรกเข้าฉายกลางเดือนกุมภา หนังทำรายได้ในอันดับที่ 17 ของอเมริกา ทั้งที่เข้าฉายเพียง 361 โรงทั่วประเทศ หรือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของโรงฉายหนังที่ได้อันดับหนึ่ง

แม้ว่าหนังไทยเรื่องใหม่ที่ต้องการประสบความสำเร็จในตลาดโลก จะต้องสร้างสรรค์แนวทางของตัวเองเท่านั้น แต่การรับรู้ทัศนะของนักวิจารณ์ต่างประเทศที่มีต่อ ‘องค์บาก’ น่าจะเป็นพื้นฐานที่ดีเพื่อการก่อตัวความคิดใหม่ของนักสร้างภาพยนตร์ไทย ที่หวังให้หนังเป็นที่ยอมรับของคนดูต่างชาติต่างภาษาด้วย

การศึกษาบทวิจารณ์ต่างๆ จากนักวิจารณ์อเมริกัน เกี่ยวกับ ‘องค์บาก’ จะบอกได้ว่า สิ่งที่นำเสนอในหนังไทยเรื่องนี้ จากสายตาของผู้เชี่ยวชาญการชมภาพยนตร์นั้น มีอะไรที่กำลังพอดี หรือส่วนที่ยังต้องแก้ไขเพราะมากไป น้อยไป ที่ยังมีอยู่ในตัวหนังจำนวนพอสมควร
สำหรับตอนนี้ จากการสรุปบทวิจารณ์โดยรวมแล้ว โอกาสได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมการผลิตในวงการภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดจากเครดิตของหนังเรื่องนี้ “น่าเสียดาย” ว่ายังเป็นของโทนี่ จา คนเดียวเท่านั้น หากเขาได้เอเย่นต์นักแสดงฮอลลีวู้ดที่มือดี เป็นไปได้มากที่เขาจะมีหนังชุกไม่แพ้เฉินหลง ในปีข้างหน้านี้

หนังสือพิมพ์ วอชิงตันโพสต์
สรุปบทวิจารณ์ :
– ชม
“(แต่) สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องบันทึกไว้คือ การแนะนำ จา ศิลปินนักต่อสู้ สู่โลก คนหนุ่ม หล่อ และนักมวย นักแสดงฉากบู๊ ที่น่าเร้าใจที่สุดนับแต่ บรู๊ซ ลี และเฉินหลง ก่อนเข้าฮอลลีวู้ด”
“องค์บากจะไม่ได้รับรางวัลบทภาพยนตร์ใดๆ แต่ โทนี่ จา เป็นข้อเสนอของแท้”
– ติง
“ดูการนำเสนอเรื่องตรงๆ แล้ว “องค์บาก” มีแต่ส่วนผสมน่าเบื่อของบทหนังซ้ำซากในหนังบู๊อย่างเลว โดยมีการโยนเนื้อหานิยายปรัมปราเติมไป”

รีวิว องค์บาก (2003) Ong Bak

องค์บาก 1
นานๆ ทีจะได้มีโอกาสรีวิวหนังในอดีต ซึ่งจริง ๆ แล้วมันก็เหมือนการมองย้อนหลังดูประวัติศาสตร์เล็ก ๆ ต้นทุน นั่นแหละ คือ มันไม่ใช่แค่การทบทวนความรู้สึกที่เรามีต่อสิ่งนั้น แต่เป็นการรีเช็คอีกครั้งด้วยว่า เราได้เรียนรู้อะไรจากมัน เพราะบางอย่างที่มันเกิดขึ้น ณ ตอนนั้น เราจะยังไม่รู้หรอก ว่ามันจะส่งผลอะไรในอนาคต แต่ตอนนี้เราอยู่ในอนาคตนั้นกันแล้ว เราบอกได้แล้วละว่า การเกิดขึ้นของสิ่งนั้นมีผลอะไรต่อสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวมันบ้าง

ถ้าให้ทบทวนเรื่องความรู้สึก ผมจำได้ค่อนข้างแน่ชัดว่าโปรเจคองค์บากเป็นที่รํ่าลือกันมาอย่างเงียบ ๆ เราได้ยินสตันท์คนหนึ่งที่ชื่อ จา และได้ข่าวว่าเขาเก่งมาก นั่นคือข้อมูลที่เราพอจะมี เอาเข้าจริงตอนนั้นผมไม่ได้สนใจหนังแอ็กชันเท่าไรหรอก แต่ก็พอจะจับใจความได้ว่า

ยุคนั้นเป็นยุคที่เฉินหลงก็ยังคงบูมตามปกติ มีบ้างที่ฌอง คลอดด์ แวนแดมม์ มาปะปนกระแส เจ็ท ลี ก็ด้วยเช่นกัน ใหม่ ๆ ดัง ๆ

หน่อยก็เป็นกังฟูแบบเรื่อง The Matrix แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้สร้างความประหลาดใจใหม่ ๆ ให้กับชาวโลกได้เท่าไรนัก เฉินหลงก็จะมาพร้อมกับความตลกบ้าน ๆ พร้อมกับฉากแอ็กชันเสี่ยงตายไปกับของในชีวิตประจำวัน

หนังสือพิมพ์ ซานฟรานซิสโก โครนิเคิล
สรุปบทวิจารณ์ :
– ชม
“โทนี่ จา ผู้น่าเร้าใจ ดึงกลับไปที่บรู๊ซ ลี และเฉินหลง ยุคต้น คือเหตุผลที่ต้องชมหนัง…บทต่อสู้ของเขา ของแท้ทั้งหมด ไม่มีการช่วยเหลือโดยใช้สายสลิง หรือทำเอฟเฟกต์ดิจิตอล”
– ติง
“การรีเพลย์ (ย้อนภาพซ้ำในแบบสโลว์โมชั่น) เป็นของดีในการชมกีฬา แต่ในหนังบู๊มันเป็นความคิดที่แย่มาก”
“ปัญหากับ “องค์บาก” คือ…แทบทุกฉากการต่อสู้ที่น่าประทับใจถูกฉายซ้ำในแบบสโลว์โมชั่น จากมุมกล้องต่างกัน และเราได้เห็นฉากที่ชวนให้ตาลุกที่สุดถึงสามครั้ง ด้วยเหตุนี้เมื่อตัดต่อให้รัดกุม หนังบู๊ 90 นาทีกลายเป็น 105 นาทีที่เต็มไปด้วยน้ำ แสดงตัวอย่างของวิธีการห้ามกำกับหนังบู๊”

ดูหนัง

รีวิว องค์บาก (2003) Ong Bak

ความรู้สึกหลังดู

หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก วาไรตี้
สรุปบทวิจารณ์ :
ชม- ติง
“ในรูปแบบดั้งเดิมของลีลาเท้ากระหน่ำ บทหนังที่ไม่น่าระทึกใจกลายมาเป็นงานโชว์ความสามารถจริงของจา ซึ่งเกิดจากการนำเสนอบทพูดน้อยกว่าการนำเสนอเท้าถึงคอหอย (หรือกึ่น หรือกระดูก)
“ทุกฉากบู๊มีลีลาการต่อสู้แต่ละชุดเป็นพิเศษเฉพาะ เมื่อถึงจุดหนึ่ง จาต่อสู้แบบที่เรียกได้ว่าเท้าไฟ น่าเสียดายที่ว่า เมื่อไรก็ตามที่เขากลับมาลงดิน หนังก็ลงดินเหมือนกัน”

หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทมส์
สรุปบทวิจารณ์ :
– ชม
“คุณ จา ผู้มีโชคที่ได้กล้ามเนื้อน่าตื่นใจ และใบหน้าแฝงอารมณ์ แน่นอนว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเป็นดาราหนังบู๊ระดับนานาชาติ และ “องค์บาก” เป็นเหมือนการเริ่มต้นปะติดปะต่อสายงานหนังบู๊ ทรงพลัง”
“ผู้กำกับ ปรัชญา ปิ่นแก้ว ผู้เป็นนักออกแบบท่าการต่อสู้โกลาหลที่กระตือรือร้น และเป็นผู้เชี่ยวชาญในธรรมเนียมดั้งเดิมของการทำหนังศิลปะการต่อสู้ เขาเป็นนักนิยมความบริสุทธิ์ ถ่ายทำฉากต่อสู้โดยไม่มีสายช่วย ภาพที่ใช้คอมพิวเตอร์สร้าง หรือเติมความหวือหวาด้วยระบบดิจิตอล(และในบางครั้ง น่าเสียดายที่ที่ไม่มีแสงมากนัก) บ่อยครั้ง คุณปิ่นแก้วดูเหมือนภูมิใจฉากกระโดดหรือปล่อยหมัดมากเสียจน เขาจะแสดงมันสามหรือสี่ครั้งในแบบภาพรีเพลย์ทันใด เหมือนผู้ควบคุมรายการซูเปอร์โบว์ล ที่ติดใจรสชาติการทัชดาวน์”

เว็บหนัง

รีวิว องค์บาก (2003) Ong Bak

“นี่ไง… ที่ที่ผมเจอพี่จา พนมเป็นครั้งแรก” นั่นคืออารมณ์ตอนดู องค์บาก รอบล่าสุดครับ

ที่เราชอบแซว “ต้มยำกุ้ง” หรือ “องค์บากภาคต่อ” ว่าบทไม่มีอะไรนั้น เอาเข้าจริงแล้วองค์บากภาคแรกนี่ก็ไม่ได้มีบทซับซ้อนแปลกใหม่อะไรนะครับ ว่าด้วยชายหนึ่งตามหาของที่ถูกขโมยไป ต้องมายังเมืองที่เขาไม่คุ้นเคย

ระหว่างทางก็ได้เจอชายอีกคนที่หน้าเหมือนพี่หม่ำ (5555) ก่อนจะร่วมกันผจญเหล่าร้าย ฝ่าหมู่หมัดและดงเท้า… ประมาณนั้นนะครับ

แต่อะไรที่ทำให้องค์บากภาคแรกเด็ดสุด? โดยส่วนตัวผมว่า “มันพอเหมาะพอดี” ครับ คือบทน่ะไม่มีอะไร แต่การเดินเรื่องมันไม่เยิ่นเย้อ ตามด้วยการมีฉากแอ็กชันแบบเล่นจริงเจ็บจริง ไม่ใช้สลิงและสแตนอิน Effect ก็ไม่ต้องครับ ทุกอย่างเนื้อซัดเนื้อ หมัดซัดหมัดกันไป

ฉากไล่ล่าก็มีลูกเล่นพอดีๆ คือไม่ต้องระเบิดอลังการอะไรมากครับ แค่ให้พอหวาดเสียว ซึ่งจุดขายที่เด็ดสุดๆ ยังไงก็คือการเล่นจริงนี่แหละ มันให้อารมณ์อีกแบบจริงๆ นะครับ มันคืออารมณ์แบบที่คอหนังสไตล์เฉินหลงโปรดเป็นหนักหนา

ขณะเดียวกันมันยังมีอารมณ์ดราม่าแทรกลงมาแบบพอรับรู้ แต่ก็ไม่ฟูมฟายเกินไป ดูแล้วพอจะอินได้บ้างตามสมควร

ณ ตอนนั้น หนังเรื่องนี้ถือเป็นปรากฏการณ์จริงๆ ครับ

ส่วน ณ ตอนนี้ หนังก็ถือเป็นตำนานอีกหนึ่งบทที่น่าจดจำ

รีวิว องค์บาก (2003) Ong Bak

แต่ถึงกระนั้นครับ เราเองก็ต้องภาคภูมิใจว่าภาพยนตร์เฟรนไชส์นี้ได้นำเสนอ และอนุรักษ์ศิลปะแม่ไม้มวยไทยของเรา พร้อมกับโปรโมทออกไปทั่วโลก ทำให้ต่างชาติได้รู้จักกับมวยไทยมากยิ่งขึ้นว่ามันสวยงาม และดุดันแค่ไหน

และที่สำคัญคือตัวของ “จา-พนม” ก็ทำให้พวกเราได้ภูมิใจเหลือเกินในวันที่เขาก้าวสู่การเป็นนักแสดงระดับ Hollywood ได้ร่วมแสดงภาพยนตร์อย่าง The Fast หรือแม้แต่ Monsters Hunter และการพูดภาษาอังกฤษที่สามารถตอบโต้ได้อย่างคล่องแคล่ว จนทำให้เรารู้สึกว้าวกันเหลือเกิน

รีวิวหนังไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *