รีวิว โปรเจกต์ลับ หลับ เป็น ตาย

รีวิว โปรเจกต์ลับ หลับ เป็น ตาย

สวัสดีจ้าวันนี้แอดจะมารีวิวหนังเรื่อง รีวิว โปรเจกต์ลับ หลับ เป็น ตาย เรื่องย่อ นักศึกษาแพทย์ที่มีอาการนอนไม่หลับ 4 คน หลงกลไปเข้าร่วมการทดลองทางประสาทวิทยาศาสตร์ที่กลายเป็นฝันร้าย และทุกคนต้องหาทางหนีเอาตัวรอดก่อนจะสายเกินไป

เรียกว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่น่ายินดีของนักเรียนภาพยนตร์ เมื่อ Netflix ตัดสินใจเปิดโอกาสให้ผลงานภาพยนตร์ของนักศึกษา ‘DEEP โปรเจ็กต์ลับ หลับเป็นตาย’ ที่เป็นความร่วมมือกันระหว่าง คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และบริษัท ทรานส์ฟอร์เมชั่น ฟิล์ม จำกัด ในการร่วมพัฒนาโปรเจกต์

จนได้ออกฉายทาง Netflix ถือว่าเป็นงานนักศึกษาชิ้นแรกของไทยที่ได้ไปอยู่ในแพลตฟอร์มระดับโลกเลยก็ว่าได้

เว็บดูหนัง

โดยโปรเจกต์นี้ ตั้งแต่ไอเดีย บทภาพยนตร์ และการถ่ายทำทุกขั้นตอน ผ่านการโค้ชอย่างใกล้ชิดจากเมนเทอร์ระดับมืออาชีพของวงการหนังไทย ทั้ง ‘วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง’ ที่คอยให้คำแนะนำเรื่องบทภาพยนตร์ และ ‘อังเคิล – อดิเรก วัฏลีลา’ ที่มาชี้แนะในส่วนของการกำกับภาพยนตร์ โดยมีทีมงานรุ่นใหม่จาก ม.กรุงเทพ

เป็นกำลังหลักในการเขียนบทและถ่ายทำอย่างยาวนานตลอด 3 ปีเต็ม นอกจากนี้ยังได้ 4 นักแสดงรุ่นใหม่คุ้นหน้าคุ้นตาทั้ง ‘แคร์-ปาณิสรา ริกุลสุรกาน’, ‘เค เลิศสิทธิชัย’ (Kayavine), ‘เฟิร์น-ศุภนารี สุทธวิจิตรวงษ์’, ‘กิต-กฤตย์ จีรพัฒนานุวงศ์ (กิต นักร้องนำวง Three Man Down)’ มาร่วมแสดงด้วย

พล็อตของหนังเรื่องนี้น่าสนใจตรงที่หยิบเอาจุดร่วมของคนสมัยนี้ที่กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว (แต่บางทีเราก็ไม่รู้ตัว) นั่นก็คือ การอดหลับอดนอนนั่นเอง เพราะอาจจะด้วยความเคยชิน หรือเหตุผลอะไรก็ตาม ซึ่งตรงนี้นี่แหละครับที่นักศึกษาหยิบเอามาต่อยอดเป็นพล็อตหนัง โดยการตั้งคำถามว่า คนเราจะอดนอนได้สักเท่าไหร่ และถ้าอดนอนแล้วจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง

และก็นำมาสู่พล็อตหลักของเรื่องที่ว่าด้วยนักศึกษาแพทย์ 4 คนที่มีไลฟ์สไตล์ต่างรูปแบบกัน (แต่อดหลับอดนอนเหมือนกัน) ต้องจับพลัดจับผลู

เมื่อได้ทราบถึงโปรเจกต์การทดลองลับ ๆ ของบริษัทแห่งหนึ่ง โดยต้องเข้ารับการฉีดสารบางอย่างเข้าร่างกาย เพื่อแลกกับเงินจำนวนมหาศาล โดยมีเงื่อนไขว่า ห้ามงีบหลับโดยเด็ดขาด เพราะถ้างีบหลับเมื่อไหร่ หัวใจจะหยุดเต้น และส่งผลให้ตายในทันที

รีวิว โปรเจกต์ลับ หลับ เป็น ตาย

แต่จริง ๆ ถ้าจะให้พูดข้อสังเกต ก็น่าจะเป็นข้อสังเกตที่ถือว่าเป็น Pain point หลัก ๆ ของหนังนักศึกษาโดยปกตินั่นแหละครับ คือเรื่องของบทที่ยังค่อนข้างจะเป็นเส้นตรงไปหน่อย คือแม้หนังเรื่องนี้จะมีแกนแข็ง ๆ ที่เอาไปตีโจทย์ต่อยอดได้หลากหลาย ซึ่งหนังเรื่องนี้ก็ตีโจทย์ได้ดีในระดับหนึ่งนั่นแหละนะครับแต่ด้วยความที่หนังเรื่องนี้มันถูกขับ

เคลื่อนด้วยการดำเนินเรื่องแบบเป็นเส้นตรง ที่แม้ว่าจะมีจุดหักเหให้พอมีเซอร์ไพรส์ แต่ด้วยวิธีการนำเสนอที่ยังมีอิทธิพล ดูหนังฟรี จังหวะ และกลิ่นอายจากหนังหลาย ๆ เรื่อง จนทำให้แม้ว่าไอเดียตั้งต้นจะสดใหม่ แต่วิธีการดำเนินเรื่องกลับไม่ได้สดตามไปด้วย จนทำให้นอกจากจะเดาเรื่องตามได้แล้ว

ยังรู้สึกถึงอาการไถด้นพล็อตทริลเลอร์กันตั้งแต่ต้นเรื่อง กลางเรื่อง ไคลแม็กซ์ จนไปถึงบทสรุปที่เหมือนจะสุดแต่ก็ไม่สุด เหมือนจะว้าว แต่ก็ว้าวได้ไม่ได้เต็มเสียง

ด้วยความเคารพในฐานะแฟนหนังพี่วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยงนะครับ ผู้เขียนดูวิธีการสรุปเรื่อง และการขมวดปมเรื่องแล้ว โดยส่วนตัวก็แอบคิดถึงหนังพี่วิศิษฏ์นิด ๆ เหมือนกัน แต่ก็เข้าใจนะครับว่า พี่วิศิษฏ์และพี่อังเคิลเองคงไม่ได้โน้มน้าวน้อง ๆ อะไรขนาดนั้นหรอก แค่ดูแล้วรู้สึกว่ามีกลิ่นอายติดมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สารภาพว่า หลังจากเราผิดหวังจาก Ghost Lab ก็ไม่ค่อยคาดหวังอะไรกับ และแอบอคติตั้งแต่ก่อนเริ่มเปิดดู แต่เมื่อได้ดูจบ เราคิดว่า ถ้าเทียบกับ Ghost Lab ซึ่งไม่มีข้อดีอะไรให้จดจำนอกจากการแสดงของ ต่อ-ธนภพ แล้วล่ะก็… Deep ทำออกมาได้น่าพึงพอใจกว่าถึงแม้การแสดงของนักแสดงทุกคนในเรื่องจะไม่น่าจดจำเลยสักคนก็ตาม

เปิดเรื่องมาด้วยการตั้งคำถามว่า คนเราจะอดนอนได้กี่วัน พร้อมกับเลคเชอร์ผลข้างเคียงของการอดนอนและโรค Insomnia ตัวละครเอกคือกลุ่มนักศึกษาแพทย์ ได้แก่ เจน (แคร์ ปาณิสรา), วิน (เค Kayavine), ซิน (เฟิร์น ศุภนารี) และ พีช (กิต Three Man Down) ทั้งสี่คนได้ไปเข้าร่วมงานวิจัยลับ “Deep” ที่ต้องตื่นตลอดเวลา เพื่อแลกกับเงินหลักแสนถึงหลักล้าน

ดูหนัง

รีวิว โปรเจกต์ลับ หลับ เป็น ตาย

ความรู้สึกหลังดู

ความรู้สึกหลังจากดู DEEP แล้วบอกตามตรงว่าไม่ได้รู้สึกว่าแย่หรือดี มันจะเป็นความรู้สึกที่อยู่ตรงกลางที่งง ๆ สิ่งที่แตกต่างจากหนังเรื่องอื่นคือความรู้สึกที่มันงง ๆ นี่แหละ คือไม่ได้คิดว่าดีหรือไม่ได้เพราะไม่สามารถบอกได้ ในช่วงแรกรู้สึกประทับใจในงานภาพและการนำเสนอไอเดียที่เป็นวิทยาศาสตร์ให้สามารถเข้าใจได้ง่าย

แล้วมาเปิดปมของตัวเอกทีละคน ซึ่งปมของแต่ละคนก็เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ปัญหาเรื่องครอบครัว การบังคับให้ลูกเรียนในสิ่งที่ลูกไม่อยากเรียน ประเด็นเรื่องการฆ่าตัวตาย ช่องว่างระหว่างวัย เป็นต้น การหยิบยกประเด็นที่พบเห็นได้บ่อยในบริบทของสังคมทำให้รู้สึกว่าสามารถเข้าถึงและอินกับตัวละครนั้น ๆ มากขึ้น

และรู้สึกประทับใจที่หยิบยกแล้วนำมาเล่าในมุมมองที่ให้แง่คิดและเผยแพร่มุมมองและความคิดของคนเจ็นใหม่ ๆ ให้สังคมได้รับรู้ อย่างน้อยภาพยนตร์เรื่องนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่แตกต่าง

ในช่วงกลางจะรู้สึกว่ามีอะไรให้น่าลุ้นขึ้นว่าเรื่องราวจะดำเนินไปในทิศทางไหนซึ่งสามารถเดาได้ไม่ยาก แต่ถ้าหากดูแล้วไม่คิดอะไร (เหมือนผู้เขียน) ก็จะรู้สึกตื่นเต้นขึ้นเล็กน้อย ในส่วนของบทสรุปก็สามารถทำได้ดีคือคลายปมแบบไม่มีข้อสงสัย จบแบบ Happy Ending มีทางลงและตอนจบที่ชัดเจนและสมเหตุสมผล ส่วนตัวประทับใจในความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครในเรื่อง หากใครเป็นคนอ่อนไหวอาจได้เสียน้ำตาให้กับตอนจบ

เว็บหนัง

รีวิว โปรเจกต์ลับ หลับ เป็น ตาย

การแสดงของนักแสดงในเรื่องถือว่าทำได้ดี สามารถทำให้ผู้ชมอินไปกับสิ่งที่ตัวละครกำลังรู้สึกและเผชิญอยู่ เรื่องของบทรู้สึกว่ามันไม่พอดี บางส่วนดูน้อยไป บางส่วนดูมากไป และให้ความรู้สึกไม่สุดซักทาง ทั้งประเด็นเรื่องมิตรภาพ ประเด็นระทึกขวัญ และปมต่าง ๆ ของตัวละคร บางครั้งการกระทำของตัวละครทำให้รู้สึกไม่อินและไม่เข้าใจซึ่งอาจเป็น

เพราะรู้จักตัวละครนั้น ๆ น้อยเกินไป มีความรู้สึกว่าการเปลี่ยนฉากมันตัดอารมณ์ ทำให้ไม่ค่อยอินในเรื่องของความสัมพันธ์บางความสัมพันธ์ ในเรื่องของเพลงประกอบรู้สึกว่าเพลงประกอบเพราะมากแต่กลิ่นอายของเพลงประกอบกับหนังค่อนข้างขัดใจ บางช่วงที่เพลงประกอบให้ความรู้สึกสบาย ๆ วินเทจหน่อย ๆ เหมือนอารมณ์ไปเที่ยว สุนทรีย์กับ

ชีวิต แต่ด้วยธีมของหนังที่ดูทันสมัยจึงไม่เข้ากัน ในส่วนของบทสรุปของความสัมพันธ์ระหว่างวินกับพ่อทำให้รู้สึกประทับใจไม่น้อยทั้งเรื่องการแสดงและเพลงประกอบ ในส่วนของการดำเนินเรื่องให้ความรู้สึกเนิบ ๆ เมื่อถึงจุดที่น่าจะตื่นเต้นก็ไม่ตื่นเต้น ในภาพรวมรู้สึกว่าเป็นภาพยนตร์ที่กลาง ๆ ไม่ได้ประทับใจแต่ก็ได้ไม่ประทับใจ

ส่วนที่ชอบที่สุดในภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นเรื่องของการนำเสนอปัญหาที่ไม่เข้าใจและไม่ลงรอยกันในสังคม เริ่มที่ประเด็นแรกคือ ประเด็นของบรรทัดฐานในการเรียน ที่ภาพยนตร์นำเสนอผ่านตัวละคร “ซิน” อินฟลูเอนเซอร์สาวที่อยากเรียนนิเทศแต่ถูกบังคับให้เรียนหมอเนื่องจากครอบครัวฝั่งพ่อเรียนหมอทั้งตระกูล จนซิน เครียดเพราะเรียนหนัก แถมต้องเรียนในสิ่งที่ไม่อยากเรียนจนต้องกินยานอนหลับ ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติที่ไม่ปกติที่เด็กวัยมัธยมจะเลือกคณะและมหาลัยด้วยเหตุผลที่ว่าทางบ้านต้องการให้เรียน สถานการณ์ในแต่ละครอบครัวก็แตกต่างกันไป บางบ้านอาจเข้มงวด บังคับกันตรง ๆ บางบ้านอาจใช้วิธีกดดัน ซึ่งความจริงแล้วเด็กควรจะเป็นผู้ที่ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ตนเองต้องการด้วยตนเองโดยครอบครัวเป็นผู้ให้คำแนะนำและสนับสนุน เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจว่าไม่ควรบังคับเนื่องจากเป็นพื้นฐานที่คนเราควรได้เลือกเส้นทางของตนเอง

ประเด็นต่อไปเป็นประเด็นในเรื่องความเข้าใจที่คนในสังคมมีต่อการฆ่าตัวตาย การฆ่าตัวตายมีสาเหตุได้จากหลายกรณี ในกรณีในภาพยนตร์ที่แม่ของวินฆ่าตัวตายและพ่ออธิบายว่า

รีวิว โปรเจกต์ลับ หลับ เป็น ตาย

“เราไม่สามารถช่วยอะไรแม่เขาได้เลย”

อาจมีสาเหตุมาจากแม่ของวินนั้นอาจมีอาการป่วยทางจิตใจและดำดิ่งเกินกว่าที่ใครจะสามารถมาช่วยได้ รวมถึงการพูดปลอบโยนหรือให้กำลังแบบปกติที่เราทำกันก็อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่และรู้สึกลบมากกว่าเดิม การที่คนหนึ่งคนจะสามารถฆ่าตัวตายได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่การคิดสั้น กว่าพวกเขากล้าที่จะปลิดชีวิตตัวเองแสดงว่าพวกเขาต้องผ่านความทุกข์และการคิดอย่างหนัก ซึ่งอาจมีการบกพร่องของสารเคมีในสมองเข้ามาร่วมด้วยบวกกับการสะสมปัญหาและความขัดแย้งในจิตใจ เพราะเราไม่รู้ว่าคนคนนั้นจะต้องพบเจอกับเหตุการณ์อะไรมาบ้าง เราจึงไม่ควรตัดสินพวกเขาด้วยประโยคที่ว่า “อย่าคิดสั้น”

วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่หลายคนไม่อาจลืมได้ เพราะเป็นช่วงวัยที่ความคิดสดใหม่ พร้อมที่จะทำตามสิ่งที่ตนต้องการ อาจยังไม่ถูกสภาพสังคมและความเป็นจริงเบียดทับจนทำให้ต้องทำตามหน้าที่ อย่างไรก็ตามในช่วงวัยนี้ก็แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและเราไม่สามารถกล่าวโทษสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตได้เลยเพราะไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งแต่แรก ในส่วนของปมความขัดแย้งในเรื่องจะเห็นได้จากจูนน้องสาวของเจนที่มุ่งมั่นกับการซ้อมดนตรีจนกลับบ้านดึก ในขณะที่เจนผู้เป็นพี่สาวก็เป็นห่วงน้องแต่กลับใช้คำพูดที่ค่อนข้างใส่อารมณ์ ทำให้น้องเข้าใจในสิ่งที่ต้องการจะสื่อผิดไปและไม่รู้ว่าพี่กำลังเป็นห่วง จึงมีเพียงแต่ความน้อยใจเข้ามาถมทับและพร้อมที่จะทำอะไรก็ได้ที่เจนกล่าวหาทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำ เข้าข่ายการกระทำที่ว่า “ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ” ซึ่งอารมณ์ที่รุนแรงก็เกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น ปมในจิตใจที่มีอยู่แล้วทำให้เมื่อถูกจี้จุดก็ควบคุมอารมณ์ได้ยาก การสร้างความเข้าใจและการพูดคุยอย่างสันติจึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการอยู่ร่วมกันในครอบครัว

ปมของพีชคือการเข้าสังคม ในภาพยนตร์เล่าเพียงว่าพีชชอบเล่มเกมและสิงอยู่ที่หน้าจอทันทีที่ว่างและไม่ค่อยมีเพื่อนในชีวิตจริง แต่ไม่ได้เล่าว่าทำไมพีชถึงไม่ค่อยเข้าสังคม (อาจเป็นไปได้ว่าเป็นเพราะบุคลิกและนิสัยของเขา) และทำไมจึงต้องตามติดและหมกมุ่นกับซินจนเหมือนเป็นสตอล์กเกอร์ (ซึ่งเมื่อถูกจับได้ พีชก็ยอมรับผิดโดยดีและไม่ได้ทำอะไรที่รุนแรง) อาจเป็นไปได้ว่าพีชแค่อยากทำไปเพราะอยากรู้จักและใกล้ชิดกับซินมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรไปตามติดชีวิตของใครเพราะนอกจากจะเป็นการละเมิดพื้นที่ส่วนตัวแล้วยังทำให้ผู้อื่นรู้สึกไม่สบายใจจนถึงขึ้นวิตกกังวลได้ ในภาพยนตร์ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องมิตรภาพในตอนใกล้จบโดยจะเห็นได้จากทั้งพีชและซินที่ในตอนแรกปฏิเสธที่จะช่วยเจน ในภายหลังก็เปลี่ยนใจ จึงจะเห็นได้ว่าสิ่งนึงที่คนเราทุกคนต้องการก็คือคนซักคนหรือซักกลุ่มที่สามารถไว้ใจได้และสบายใจเมื่ออยู่ร่วมกัน

ตอนจบที่ประทับใจที่สุดคือฉากที่วินคุยกับพ่อพร้อมกับเพลงประกอบที่เข้ากัน สำหรับฉากนี้เพียงแค่ไม่กี่วินาทีเชื่อว่าทำให้หลายคนสามารถซึ้งและอินไปกับเรื่องราวที่ภาพยนตร์ต้องการจะสื่อได้ โดยส่วนตัวแล้วชอบฉากนี้มากที่สุด ฉากที่ชอบและประทับใจรองลงมาคือฉากปาร์ตี้ที่บ้านพีชเนื่องจากเป็นจากที่ได้เห็นเจนสนุกและเอนจอยไปกับเพื่อน ๆ ซึ่งหากเป็นสถานการณ์ปกติเจนคงไม่มีเวลามาสังสรรค์เนื่องจากต้องอ่านหนังสือและทำงานที่บ้าน อาจเป็นข้อดีอย่างเดียวของโครงการดีพที่ทำให้ทั้งสี่คนได้มาเป็นเพื่อนและเกิดมิตรภาพดี ๆ ขึ้น (ซาบซึ้ง)

ฉากที่รู้สึกขัดใจและรู้สึกว่าจะเป็นฉากฮาของเรื่องคือการโฆษณาซิมการ์ดที่เห็นได้บ่อย ๆ ส่วนตัวแล้วรู้สึกฮากับการขายซิมการ์ดเพราะเป็นการขายแบบตรง ๆ ที่พูดทั้งชื่อและสรรพคุณ (ถ้าจะพูดให้ถูกก็ต้องบอกว่าเป็นข้อมูลซิม) ไม่เหมือนกับการขายแบบอ้อม ๆ เหมือนที่หนังและซีรีส์เรื่องอื่นทำ (อย่างเช่นเรื่อง VINZENZO ที่โฆษณาลูกอมรสกาแฟ Kopiko แบบเนียน ๆ พร้อมคำพูดและสีหน้าที่บ่งบอกว่าสดชื่นจริง ๆ ) ส่วนตัวรู้สึกขัดใจแต่ก็มองว่าฮาดี

รีวิวหนังไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *