รีวิว โหมโรง

รีวิว โหมโรง

การดำรงคงอยู่ของวงการดนตรีไทยผ่านยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนผ่าน
หนังขึ้นหิ้งหนังดีแห่งวงการหนังไทย โดยบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับบุคคลสำคัญอย่าง หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ผู้มีพรสวรรค์และมีบทบาทสำคัญต่อวงการดนตรีไทย ที่ครั้งหนึ่งต้องนำพามรดกทางดนตรีไทยให้อยู่รอดภายใต้การเปลี่ยนผ่านวัฒนธรรม Production ของหนังนั้นสามารถทำออกมาได้ดีเยี่ยมในทุกแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นบทประพันธ์ การเล่าเรื่อง หรือการแสดง เรียกได้ว่าเป็นตำนานหนังไทยที่คุณไม่ควรพลาดเลยค่ะ

ประเภทของหนัง
Biography / Drama / Music
นักแสดงนำ
อนุชิต สพันธุ์พงษ์, อดุลย์ ดุลยรัตน์, พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ปีที่เข้าฉาย
2004
ความยาวของเรื่อง
104 นาที

เว็บดูหนัง

โหมโรง หนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดของวงการหนังไทย โหมโรงถูกสร้างในปี 2547 (ผ่านมากว่า 13 ปีแล้ว !!!) โหมโรงกำกับโดย อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ ในส่วนดนตรีได้รับการควบคุมโดย ชาติชาย พงศ์ประภาพันธุ์ และ ชัยภัค ภัทรจินดา (คนดนตรีไทยน่าจะรู้จักดี) ตัวหนังได้รับเสียงชื่นชมมากมาย

สร้างกระแสดนตรีไทยฟีเวอร์ ขนาดถูกนำไปสร้างเป็นละครทีวีและละครเวที โหมโรงเริ่มแรกเกือบจะถูกถอดไปแล้ว แต่โชคดีถูกต่อลมหายใจโดยพันทิป กระแสปากต่อปากช่วยเอาไว้ ในส่วนรางวัล หนังได้รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากสุพรรณหงส์ รางวัลต่างๆภายในประเทศมากมาย และถูกคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งชิงออสการ์ภาพยนตร์ต่างประเทศด้วย

นอกจากรางวัลในประเทศไทยแล้ว โหมโรงยังได้รางวัลจากเทศกาลหนังต่างประเทศหลายเทศกาลด้วย เช่น Miami Film Festival , Asia-Pacific Film Festival , Marrakech International Film Festival (ตัวข้อมูลอ้างอิงจาก Imdb) จึงถือได้ว่าเป็นหนังไทยที่เจ๋งมาก สามารถไปสร้างชื่อเสียงในต่างประเทศได้

สำหรับเนื้อเรื่องโหมโรงเป็นภาพยนตร์ที่ถูกดัดแปลงมาจากชีวิตของ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ครูคนสำคัญของวงการดนตรีไทย ศรเกิดมาในครอบครัวดนตรีไทยและได้รู้จักกับดนตรีไทยตั้งแต่เด็ก เมื่อเติบโตมาก็มีพรสวรรค์ทางดนตรีสูงกว่าคนอื่น ทำให้ได้เข้าไปอยู่ในวงดนตรีหลวงที่มีเจ้านายคอยอุปถัมภ์ เป็นนายระนาดประจำวง ได้พบรักกับสาวในวัง ได้เข้าสู่ช่วงที่หมดหวังที่สุดในชีวิตเมื่อประชันระนาดแพ้ขุนอิน แต่สุดท้ายด้วยการฝึกฝนและคิดค้นทางระนาดใหม่ ทำให้สามารถเอาชนะขุนอินไปได้

ตัดไปช่วงบั้นปลายชีวิต ศรในวัยชรา ต้องเผชิญกับ อุปสรรคของดนตรีไทยอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่แพร่กระจายเข้ามาในสังคม นโยบายควบคุมดนตรีไทยและศิลปะแขนงต่างๆ จนทำให้ดนตรีไทยเข้าสู่ยุคโรยรา ซึ่งเป็นยุคที่ศรยากจะทำใจได้

เกือบหนึ่งสัปดาห์แล้ว ถ้านับจากวันที่เรามีโอกาสได้ไปชมละครเวที “โหมโรง เดอะมิวสิคัล” จนถึงตอนนี้ เพิ่งมีโอกาสได้เขียนรีวิว มากกว่าการแอบอู้อ่านสอบไฟนอลมาเขียนรีวิว คือเราอยากบันทึกความทรงจำดีๆ ที่ได้จากการชมละครเวทีเรื่องนี้

รีวิว โหมโรง

โหมโรง เดอะมิวสิคัล เป็นละครเวทีที่เราดูแล้วรู้สึกอิ่มเอมหัวใจ คือมันได้ทุกอารมณ์ ทุกอรรถรส ทั้งโรแมนติก ตลก ซาบซึ้ง น้ำตาคลอ ตื่นเต้น ลุ้นระทึก รวมๆ กันแล้วมันคือความประทับใจ คะแนนเต็ม 10 ก็ให้ 10 เป็น 3 ชั่วโมงครึ่งที่มีความสุขมาก เป็นการดูละครเวทีที่ “ดีต่อใจ” เราไม่เคยมีโอกาสได้สัมผัสละครเวทีบรอดเวย์ หรือของต่างประเทศ แต่มากกว่าเยาวชน มากกว่าคนไทยทุกคน เราอยากให้ชาวต่างชาติได้มาสัมผัสละครเวทีดีๆ ฝีมือคนไทยอย่างเรื่องนี้เหลือเกิน

บทละครเวที “โหมโรง เดอะมิวสิคัล” ดัดแปลงจากบทภาพยนตร์เรื่อง “โหมโรง” ในปี 2547 เราเคยชมภาพยนตร์เรื่องนี้ตั้งแต่เด็ก คือเด็กมากจนปะติดปะต่อเนื้อเรื่องไม่ได้เลย ภาพจำของเราในภาพยนตร์เรื่องนี้มีแค่ โอ อนุชิต เป็นพระเอก อ๊อฟ พงษ์พัฒน์ เป็นทหาร มีการเล่นระนาด …จำได้แค่นี้จริง ๆ ซึ่งพอเราตัดสินใจจะไปชมละครเวที คิดวันนี้ก็ซื้อบัตรรอบพรุ่งนี้เลย ไปแบบโล่งๆ เข้าไปทำความรู้จักกับเรื่องราว กับตัวละครที่หน้างานเลยละกัน

เป็น 3 ชั่วโมงครึ่ง ที่มีความสุข เรายิ้ม เราหัวเราะ เราลุ้นระทึก แต่ที่สุดของโหมโรง เดอะมิวสิคัล คือละครเวทีเรื่องนี้ทำเราน้ำตาคลอถึง 6 ครั้ง !

เรื่องราวของ “โหมโรง เดอะมิวสิคัล” ได้แรงบันดาลใจจากชีวประวัติของ หลวงประดิษฐไพเราะ หรือท่านครูศร ศิลปะบรรเลง ปูชนียบุคคลผู้มีคุณูปการต่อวงการดนตรีไทย ชีวิตของศร ตั้งแต่วัยเด็ก วัยหนุ่ม จนถึงวัยชรา เพื่อความฝันของเขา เขาต้องต่อสู้ ต้องฝ่าฟันกับอุปสรรคมากมายในทุกช่วงชีวิต การเล่าเรื่อง ตัดฉากสลับระหว่างช่วงวัยหนุ่มกับวัยชรา ยิ่งทำให้เรื่องสนุกและน่าติดตามมากขึ้น
องก์ 1 รุ่มรวยด้วยความสุข มีแต่รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ อิ่มเอมในความงาม ความไพเราะของดนตรีไทย
องก์ 2 คือการขมวดปมด้วยแรงกดดัน ลุ้นไปกับนายศร เสียน้ำตาให้กับท่านครูและอีกหลายชีวิต ก่อนจะจบอย่างจับใจ

ตลอดชีวิตของท่านครู หรือนายศร เขาล้วนต้องต้องสู้เพื่อให้ได้สิ่งที่เขาปรารถนา

“เด็กชายศร” ต้องต่อสู้กับความรักของพ่อ…ความฝันที่จะเล่นดนตรีไทยต้องยุติลง เพียงเพราะความตายของพี่ชายอันเกิดจากชัยชนะในการประชันระนาด แต่นั่นใช่ความผิดของดนตรีไทยหรือ? เมื่อพ่อตัดสินใจเช่นนั้น เด็กน้อยก็ไม่มีทางเลือก น้องที่เล่นเป็นศรคือร้องเพลงเพราะมาก แสดงดีมากเช่นกัน ความรู้สึกของคนที่ถูกห้ามทำในสิ่งที่รัก ซีนพ่อพาศรไปไหว้ครูนี่คือดีมาก แค่ซีนแรกๆ พระเอกยังไม่ทันโต เราก็น้ำตาคลอแล้ว… ถึงแม้พาร์ตวัยเด็กจะใช้เวลาไม่นาน แต่ก็อัดแน่นด้วยความประทับใจ

“นายศร” การต่อสู้กับหัวใจตัวเอง… ละครเวทีเรื่องนี้ทำให้เราอยากให้ประเทศไทยมีการแจกรางวัลให้กับวงการละครเวทีบ้างเหลือเกิน ซึ่งถ้ามี ในปี 2561 นี้ ผู้ที่คู่ควรกับรางวัลนักแสดงนำชายคงเป็นใครไม่ได้นอกจาก อาร์ม-กรกันต์ สุทธิโกเศศ หน้าตาดี ร้องเพลงเพราะ การแสดงเป็นเลิศ ฝีไม้ลายมือการเล่นระนาดถึงขั้นประชันกับรุ่นครูแล้วชนะ คุณสมบัติเหล่านี้ยากที่จะอยู่ในตัวคนคนเดียว แต่พี่อาร์มทำได้!

ศรในวัยหนุ่ม เขาอยู่ในยุครุ่งเรืองของดนตรีไทย เขาคือระนาดเอกแห่งอัมพวา ความภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง บางครั้งก็มากเกินไปจนกลายเป็นความผยอง จนกระทั่งเขาได้พบ ได้ยินเสียงของระนาดที่เหนือกว่าเขา เข้มแข็งและดุดันกว่าเขา จนยากที่จะเอาชนะ นั่นกลายเป็นความกลัว เสียงนั้นยังคอยหลอนให้ชายหนุ่มอย่างศรหวาดผวา และไม่กล้าเล่นระนาดอีก…แท้จริงแล้ว นี่ไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างเขากับขุนอินเลย แต่นี่คือการต่อสู้ของศรกับใจของเขา…

พาร์ตวัยหนุ่มของศร ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้คือบทของ “ทิว” เพื่อนสนิทของศร ที่ตัวติดกันตลอด ทิวจัดได้ว่าเป็นตัวสร้างสีสันของเรื่อง ด้วยคาแรคเตอร์ที่จัดจ้าน เล่นใหญ่ไฟกะพริบ แต่การแสดงของ นาย-มงคล กลับเรียกรอยยิ้มให้กับผู้ชมและไม่ทำให้ตัวละครตัวนี้น่ารำคาญเลย
หลายตัวละครในพาร์ตวัยหนุ่ม ทำให้เราสัมผัสและเข้าใจคำว่า “น้อยแต่มาก” ด้วยไทม์ไลน์ของเรื่องที่ยาวนาน ทำให้บางตัวละครปรากฏตัวออกมาน้อย แต่กลับสร้างความประทับใจให้คนดู…ยากที่จะลืมได้ ครูรัก-ศรัทธา มาในบทของ “ครูเทียน” ผู้สอนศรเล่นดนตรีในวัง ออกมาน้อยแต่มาเพื่อเรียกเสียงหัวเราะจากผู้ชม

“ขุนอิน” ระนาดเอกแห่งสยามประเทศ รับบทโดย ครูเบิ่ง-ทวีศักดิ์ เป็นขุนอินที่บรรเลงระนาดแล้วให้ความรู้สึกไพเราะ เข้มแข็ง ดุดัน ไปถึงขั้นน่ากลัว! คือเป็นลีลาระนาดที่คนธรรมดาอย่างเราฟังแล้วยังหวั่นเกรง นับประสาอะไรกับพ่อศร

ไฮไลต์ของพาร์ตวัยหนุ่มคือการประชันระนาด ตั้งแต่หลับตาตีระนาด ประชันต่างเมืองสองรุมหนึ่ง มาจนถึงการประชันกับขุนอิน เล่นกันสดๆ ไม่มีลิปซิงก์ ท้าทายผู้ชม ให้เห็นกันไปเลยว่าดนตรีไทยไม่ได้น่าเบื่อ เป็นการประชันระนาดที่น่าตื่นเต้น ลุ้นระทึกในทุกท่วงที ทุกลีลาที่บรรเลง

ดูหนัง

รีวิว โหมโรง

ความรู้สึกหลังดู

โหมโรง ละครโทรทัศน์แห่งความภาคภูมิใจในคุณค่าศิลปวัฒนธรรมความเป็นไทย อันเป็นรากของแผ่นดิน ความงดงามและความไพเราะจากเครื่องดนตรีไทยอย่าง “ระนาดเอก” เริ่มต้นบรรเลงขับขานไปพร้อมกับเรื่องราวอันเข้มข้นของ “ศร” บุรุษผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “มหาคีตกวี” กับเส้นทางชีวิตมุ่งหน้าสู่ความเป็น “นักระนาดเอกมือหนึ่งของแผ่นดิน” บรมครูของนักดนตรีไทย ผู้ผ่านทั้งยุคทองที่รุ่งเรืองอย่างสูงสุด และยุคตกต่ำที่สุดของวงการดนตรีไทย ยอดคนระนาดเอกแห่งสยามประเทศ จะกลับมาโลดแล่นบนจอแก้ว

ยุครัชกาลที่ 5

“ศร” ผู้มีพรสวรรค์ทางด้านดนตรีตั้งแต่อายุเพียง 5 ขวบ เขาสามารถเล่นระนาดได้เองโดยไม่มีใครสอน แต่อาจจะด้วยที่ชีวิตของเขาเกิดมากับเสียงของวงปี่พาทย์ของผู้เป็นพ่อคือ”ครูสิน” หัวหน้าวงปี่พาทย์มีชื่อในอัมพวา สมุทรสงคราม พี่ชายของศรเองก็เป็นนักเลงปี่พาทย์มีฝีมือ แต่ด้วยเหตุนี้ทำให้นักเลงระนาดอีกหมู่บ้านหนึ่งมาดักฟันพี่ชายของเขาจนตายไปเมื่อเขาอายุได้เพียง 10 ขวบ จากนั้นมาครูสินจึงเลิกยุ่งเกี่ยวกับดนตรีโดยเด็ดขาด เพราะไม่อยากให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นกับใครในครอบครัวอีก

หลวงตาจึงได้ให้ข้อคิดกับครูสิน ว่าคนที่ฆ่าลูกชายคนโตนั้นคือผู้ที่ไม่เข้าใจดนตรีที่แท้จริง ครูสินจึงตัดสินใจกลับมาเปิดวงและรับศรเป็นลูกศิษย์ โอกาสที่ศรจะได้เรียนรู้ดนตรีไทยทุกชิ้นกลับมาสู่แสงสว่างอีกครั้ง ครูสินพร่ำสอนกับศรว่า “ความงามของดนตรีคือ ทำให้คนมีจิตใจงดงามตามท่วงทำนอง อย่าได้ใช้ดนตรีไปในทางที่เสื่อมโดยเด็ดขาด” คำเหล่านี้จดจำอยู่ในใจศรเสมอมา

แต่เมื่อผันเข้าสู่วัยหนุ่ม ศรกลายเป็นดาวโดดเด่นในอัมพวาจนมีชื่อเสียงมีคนในพื้นที่ใกล้เคียงมาคอยเฝ้าชื่นชม ความเหลิงทำให้เขาเริ่มใช้ดนตรีในทางผิด จนกระทั่งวันหนึ่งเมื่อมีวงราชบุรีมาท้าประชัน พ่อตัดสินใจไม่เอาศรลงตีระนาดเอก แต่กลับให้ไปตีฆ้องวงแทน เพื่อเป็นการดัดสันดาน แต่เมื่อให้คนในวงคนอื่นเล่นระนาดแทนก็เกิดทำให้เจ้าเมืองราชบุรีไม่พอใจ หาว่าสบประมาทฝีมือกันที่ครูสินไม่เอาของดีออกมาแสดง ในที่สุดศรก็ได้มาตีระนาดเอกและทำให้”พ่อมั่น” ระนาดเอกแห่งราชบุรีที่มาประชันนั้นต้องพ่ายแพ้ไป

ต่อมาครูสินจึงพาศรเข้ามาสู่บางกอก เพราะอยากให้ศรได้เปิดหูเปิดตาดูในงานประชันระนาดว่ายังมีคนเก่งอีกมาก พ่อจึงฝากฝังไว้กับครูแก้วเพื่อนของพ่อ แต่แล้วพ่อมั่น ซึ่งได้มาอยู่กับวงครูแก้วเกิดกลัวคู่ประชันขึ้นมาและต้องการจะแก้แค้นศรก็เลยหาเรื่องหลบการประชัน เพราะคู่ต่อสู้นั้นฝีมือฉกาจนัก และขอให้ศรขึ้นประชันแทน ศรด้วยความอยากอวดฝีมืออยู่แล้วจึงตัดสินใจขึ้นโดยไม่ลังเล ขุนอินเมื่อได้ยินเสียงระนาดก็ตีทับขึ้นมาทันที ความแข็งกร้าวดุดันของทางระนาดขุนอินนั้นไม่มีทางที่ใครจะทานได้ ศรจึงพ่ายแพ้กลับไปอย่างยับเยิน ศรพยายามฝึกตีระนาดให้ได้อย่างขุนอิน แต่ก็ทำไม่ได้เสียที จนวันนึงศรก็ได้พบทางระนาดของตน พระองค์ชายเล็กจากในวังที่เสด็จมาตามหานักระนาดมือเอก มาเจอศรจึงชวนเข้าไปอยู่ในวัง

เมื่อศรได้เข้ามาอยู่ที่วัง ก็ได้ครูหมึกและครูเทียนช่วยกันสั่งสอน และศรก็ได้พบรักกับแม่โชติ สมเด็จให้ศรประชันกับขุนอิน ศรกลัวจึงหนีกลับไปที่อัมพวาแต่ครูเทียนก็ไปตามศรกลับมาประชันจนได้ ครูเทียนให้สติศรจนศรได้ค้นพบตัวเองและทางระนาดของตัวเอง จึงสามารถเอาชนะขุนอินได้ ส่วนเรื่องของแม่โชติก็กลับกลายเป็นดี นายศรได้พิสูจน์ตัวเองให้ครอบครัวแม่โชติยอมรับจนในที่สุดทั้งสองได้ครองคู่ชีวิตกัน

เว็บหนัง

รีวิว โหมโรง

ยุครัชกาลที่ 8

เวลาผ่านมาจนถึงสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายศรได้กลายเป็น”ท่านครู” ของลูกศิษย์ลูกหาหลายคนที่ชุมชนบ้านบาตรเป็นที่นับหน้าถือตาของคนดนตรีทั่วไทย ทิวเพื่อนเก่าเพื่อนแก่เองก็ถึงกับส่งลูกชายคือนายเทิด มาอยู่ร่วมวงด้วยเพราะนายเทิดรักการตีฉิ่งและวงปี่พาทย์เป็นชีวิตจิตใจ ช่างเป็นลูกไม้ที่หล่นได้ไกลต้นจากทิวผู้เป็นพ่อเหลือเกิน ลูกชายท่านครู คือประสิทธิ์รับราชการเป็นล่ามอยู่และยังจบมาจากญี่ปุ่น วันนึงประสิทธิ์ขนเปียโนเข้าบ้าน ในหนแรกนายเทิดคิดว่าคงเกิดเรื่องใหญ่แน่แล้ว เพราะท่านครูเองเป็นถึงบรมครูเครื่องดนตรีไทย แต่ลูกชายกลับนำเครื่องดนตรีสากลเข้าบ้าน แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เทิดได้เรียนรู้ว่า สิ่งที่แตกต่างกันนั้นสามารถผสานกันได้อย่างลงตัวเมื่อท่านครูลงไม้ระนาดตีคลอไปกับเพลงที่ประสิทธิ์เล่นได้อย่างเหมาะเจาะลงตัว ท่านครูบอกกับทุกคนว่า “ถ้าเข้าใจสิ่งที่เรามีอยู่การจะเข้าใจสิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามานั้นไม่ได้ยากเกินไป แล้วเราเองก็ยังได้ฟังเสียงระนาดที่เป็นแบบของเราอยู่ เสียงเปียโนที่เป็นแบบของเขาก็ไม่ได้เสียไปเช่นกัน”

พันโทวีระที่ดูแลเรื่องวัฒนธรรมนี้อยู่ ด้วยขณะนั้นบ้านเมืองอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง มีความขัดแย้งหลายอย่างเกิดขึ้นในสังคม เป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยรับเอาอารยธรรมจากต่างชาติเข้ามาปฏิบัติด้วยถือว่านี่คือสิ่งศิวิไลซ์ที่ประชาชนควรถือปฏิบัติ และนำชาติด้วยคำว่า “เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย” ในยุคนั้นมีการออกกฎมากมายเกี่ยวกับดนตรี เช่นการจะแสดงดนตรีไทยต้องมีบัตรนักดนตรีเท่านั้น ห้ามนั่งเล่นดนตรีกับพื้น เป็นต้น ข้อห้ามเหล่านี้ล้วนทำให้นักดนตรีไทยทำมาหากินยากลำบากขึ้น จนทำให้นักระนาดบางคนที่มีฝีมือดีมากอย่างเปี๊ยกกลับต้องหันเหชีวิตไปรับจ้างแบกข้าวสาร จนเกิดอุบัติเหตุข้อมือหักไม่สามารถเล่นระนาดได้อีก เปี๊ยกทำใจไม่ได้จึงตัดสินใจคร่าชีวิตตัวเองด้วยการผูกคอตาย ดูหนังออนไลน์

รีวิว โหมโรง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นสะเทือนใจทุกคนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะท่านครู … ความขัดแย้งทั้งด้านสงครามก็ดำเนินรุนแรงขึ้น ขณะที่ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมระหว่างคนในชาติเองก็รุนแรงตามเป็นลำดับ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ก่อให้เกิดผลกระทบ และสร้างความปวดร้าวแก่นักดนตรีไทยและคนไทยทุกคน

รวมทั้งท่านครูที่แม้จะพยายามอธิบายถึงความชัดเจนในความเป็นตัวตนของไทยแล้วหากจะรับสิ่งอื่นก็ต้องรับเข้ามาอย่างเข้าใจ จึงจะผสานไปด้วยกันได้ พันโทวีระดูจะไม่เข้าใจ ท่านครูจึงจบการสนทนาด้วยการเดินไปที่ระนาดและท่านได้ใช้ความกล้าหาญในเฮือกสุดท้ายแห่งชีวิตท่านไปกับการบรรเลงเพลง แสนคำนึง

ขึ้นต่อสู้เพื่อพิสูจน์คุณค่าแห่งดนตรีและวัฒนธรรมไทยที่ท่านรักดั่งชีวิต ทำให้พันโทวีระได้ฉุกคิด เขาได้เข้าใจถึงเสียงพูดของท่านครูที่ดังไปเข้าหูเขาในวันนั้นแล้ว พันโทวีระยอมจากไปแต่โดยดีในที่สุด

จากนั้นไม่นานท่านครูก็สิ้นลมลงด้วยความหวังว่าสิ่งเหล่านี้ที่ท่านครูเองได้ต่อสู้มานั้นจะไม่หายไปไหน ในงานศพของท่านครู เหล่านักดนตรีไทยได้มารวมตัวกันและบรรเลงเพลงร่วมกันส่งวิญญาณครูและเหมือนเป็นการส่งสัญญาณให้ครูได้รู้ว่าตั้งแต่นี้ไปคือโหมโรงที่จะสืบทอดปณิธานของท่านครูสืบไปด้วยเช่นกัน

รีวิวหนังไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *