รีวิว 15 ค่ำ เดือน 11
ความเชื่อที่พิสูจน์ไม่ได้กำลังถูกสั่นคลอนจากโลกวิทยาศาสตร์
หนังเรื่องนี้ได้หยิบยกเรื่องราวของ บั้งไฟพญานาค ปรากฏการณ์สำคัญที่ชาวบ้านกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงนั้นให้ความศรัทธา โดยหนังเรื่องนี้ไม่ได้บอกเล่าวิถีชีวิตชาวบ้านเพียงอย่างเดียว แต่ยังตั้งคำถามความขัดแย้งระหว่างความเชื่อที่พิสูจน์ไม่ได้จนอาจจะกลายเป็นความงมงาย ผ่านตัวละครหนุ่มรุ่นใหม่ที่ถูกความจริงทางวิทยาศาสตร์สั่นคลอนความเชื่อ อีกทั้งหนังยังสามารถผูกปมและดำเนินเรื่องไปในทางที่สร้างความอิ่มเอมใจให้ผู้ชมด้วยเช่นกันค่ะ
ประเภทของหนัง
Drama / Comedy
นักแสดงนำ
อนุชิต สพันธุ์พงษ์, ธิดารัตน์ เจริญชัยชนะ, บุญชัย ลิ่มอติบูลย์
ปีที่เข้าฉาย
2002
ความยาวของเรื่อง
119 นาที
15 ค่ำ เดือน 11 เป็นภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายเมื่อ11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นผลงานกำกับเรื่องแรกของ จิระ มะลิกุล เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากความเชื่อ ของชาวท้องถิ่นในแถบอีสาน เกี่ยวกับปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ซึ่งเป็นการเรียกขานลูกไฟประหลาดสีชมพูจำนวนมาก ที่พวยพุ่งขึ้นจากลำน้ำโขง ในคืนวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี โดยลูกไฟนั้นไม่มีกลิ่น ไม่มีเสียง
พุ่งขึ้นสูงประมาณ 20-30 เมตร แล้วก็หายไป โดยไม่มีการโค้งลงมา เช่นเดียวกับไฟที่เกิดจากพลุทั่วไป และเกิดขึ้นเป็นจำนวนไม่แน่นอน ในท้องที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
15 ค่ำ เดือน 11 เป็นภาพยนตร์อื้อฉาวแห่งปี พ.ศ. 2545 [1] เพราะถูกชาวหนองคายบางส่วนประท้วงเรียกร้องไม่ให้ฉาย หาว่ามีการบิดเบือนเนื้อเรื่องเกี่ยวกับบั้งไฟพญานาค ปรากฏการณ์ประหลาดที่มีลูกไฟผุดขึ้นจากลำน้ำโขงที่จังหวัดหนองคายในช่วงเทศกาลวันออกพรรษา
มีความเชื่อแต่โบราณว่าพญานาค ซึ่งเป็นสัตว์ในนิยายปรัมปรา เป็นผู้จุดบั้งไฟเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ภาพยนตร์แสดงให้เห็นนักวิจัยที่ออกค้นหาสาเหตุ พบเงื่อนงำมากมาย อาทิ พยานที่เคยพบหรือร่องรอยการเลื้อย แต่ที่สุดก็ว่าระบุว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ภาพยนตร์สื่อให้เห็นว่าบั้งไฟพญานาคเกิดจากฝีมือพระภิกษุ ซึ่งจำวัดอยู่ในวัดในฝั่งประเทศลาว โดยมอบหมายให้เด็กที่อาศัยอยู่ในวัดตั้งแต่เล็ก เป็นคนดำน้ำลงไปจุดพลุ
โดยทำสืบทอดมาแต่โบราณเพื่อให้คนหันมาศรัทธาในพระพุทธศาสนา หลังจากมีโอกาสไปร่ำเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ทางการกีฬาในกรุงเทพฯ ทำให้เด็กวัดไม่อยากกิจกรรมซึ่งตนเองคิดว่าหลอกลวงประชาชนอีกต่อไป ในปีสุดท้ายจึงปฏิเสธที่จะทำอีก สุดท้ายหลวงพ่อตัดสินใจทำด้วยตนเอง และถึงแก่มรณภาพในเวลาต่อมา และตอนจบของภาพยนตร์ซึ้งกินใจจนคนดูอาจคาดไม่ถึง และข้ออ้างของผู้กำกับ จิระ มะลิกุล
ที่เรียกร้องให้ชาวหนองคายที่ประท้วงภาพยนตร์เรื่องนี้ ดูให้จบเรื่องก่อน
ภาพยนตร์ทำรายได้ 55 ล้านบาท
ความเชื่อท้องถิ่นเกี่ยวกับ บั้งไฟพญานาค ถูกส่งต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ที่ก่อเกิดเป็นความศรัทธาของชาวหนองคายกันมากมาย ความเร้นลับและมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นตรงกันทุกปีในคืนวันออกพรรษา กลายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์
จนกระทั่งทางฝั่งลาวได้ร่วมกันสร้างปฏิบัติการบั้งไฟพญานาค โดยตั้งใจให้คงไว้ถึงความศรัทธาของคนท้องถิ่น แต่ คาน เลือกที่จะปฏิเสธกับภารกิจนี้ เกิดเป็นความขัดแย้ง ที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายต้องเลือกระหว่างทำให้ทุกคนได้รู้ถึงความจริง หรือคงไว้ซึ่งความศรัทธาบนความหลอกลวง
รีวิว 15 ค่ำ เดือน 11
เรื่องราวของบั้งไฟพญานาค มหัศจรรย์แห่งลุ่มแม่น้ำโขง ที่เกิดขึ้นกับชีวิตคนไทยในอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ที่อยู่ห่างไกลจากกรุงเทพไปกว่าแปดชั่วโมง แต่ที่แห่งนี้ กลับมีสิ่งเร้นลับมหัศจรรย์ ที่เกิดขึ้นตรงกันทุกปี ในคืนวันออกพรรษา บั้งไฟพญานาค ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้
กลายเป็นเรื่องที่โด่งดังไปทั่วโลก และยังไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่า บั้งไฟพญานาค เกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์หรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเป็นพุทธบูชาของพญานาค จริงตามความเชื่อ และ ศรัทธาของชาวอีสาน ยังคงเป็นปริศนาที่ท้าทาย และรอคอยการพิสูจน์มาจนทุกวันนี้
กลุ่มพระทางฝั่งประเทศลาวที่ร่วมกันสร้างปฏิบัติการ “บั้งไฟพญานาค” ขึ้นมาด้วยจุดประสงค์ที่คงเรียกได้ว่า “เป็นความผิดโดยสุจริต” เพื่อคงไว้ซึ่งศรัทธาในพุทธศาสนา และเมื่อ คาน เด็กหนุ่มที่ หลวงพ่อโล่ ชุบเลี้ยงมาแต่เล็กแต่น้อย
เกิดปฏิเสธที่จะร่วมวงในปฏิบัติการในปีนี้ด้วยเหตุผลที่ว่าโลกที่แท้จริงภายนอกนั้น วิวัฒนาการมันก้าวไกลเกินกว่าที่จะมานั่งหลอกคนแบบนี้ได้ แต่โลกใบที่ คาน บอก
มันเป็นคนละโลกกับโลกของหลวงพ่อ โลกที่ความศรัทธายังคงเป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงให้ทุกชีวิตดำเนินต่อไป ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมิได้หยุดอยู่แค่ความคิดของคนต่างฝ่ายที่คิดเห็นไม่เหมือนกัน แต่มันยังลามไปถึงความขัดแย้งระหว่างขอบเขตของการทำสิ่งที่เชื่อว่าเป็นการทำความดีและการหลอกลวง
ภาพยนตร์ 15 ค่ำ เดือน 11 ออกฉายในปี พ.ศ.2545 โดยได้นำเรื่องราวความเชื่อท้องถิ่นนี้มาสร้าง และได้กลายเป็นภาพยนตร์ที่มีเรื่องราวเกิดขึ้น จนถูกชาวหนองคายประท้วงไม่ให้ออกฉาย เพราะถือว่ามีการบิดเบือนเนื้อหาเกี่ยวกับบั้งไฟพญานาค
แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นภาพยนตร์ที่ดำเนินเรื่องให้ผู้ชมได้คิดถึงความศรัทธาที่ยืนอยู่บนหลักการของความจริง จนทำให้การออกฉายในครั้งนั้น
เต็มไปด้วยทั้งเสียงวิจารณ์ก่นด่าและเสียงชมเชยจากผู้ชม ที่เข้าไปรับชมในโรงภาพยนตร์ จนเกิดการเรียกชื่อนี้สั้น ๆ เพียงว่า 15 ค่ำ ก็เป็นอันเข้าใจว่าหมายถึงภาพยนตร์เรื่องนี้
ต่อมาไม่นานหลังจากออกฉาย กระแสเริ่มไปในทิศทางเชิงบวกมากขึ้น มีการพูดถึงและรับชมกันอย่างต่อเนื่อง ไม่เว้นแม้แต่ จ.หนองคาย ที่เป็นประเด็น ก็ยังมีคนเข้าไปรับชมกัน และต่างพากันยกยอถึงความยอดเยี่ยมของเนื้อเรื่องในภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่ได้ชวนให้ตั้งคำถามและจัดการกับระบบความเชื่อท้องถิ่นดั้งเดิม จนอาจจะถือได้ว่าเป็นภาพยนตร์ที่ส่งอิทธิพลต่อสังคมไทยในระดับหนึ่ง
แม้จะมีเรื่องประท้วงเกิดขึ้น แต่ในปีนั้นภาพยนตร์ก็ทำรายได้ไปถึง 55 ล้านบาท และยังได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากรางวัลสุพรรณหงส์ครั้งที่ 12 เมื่อปี พ.ศ.2546 โดยเรื่องนี้เป็นผลงานกำกับเรื่องแรกของ จิระ มะลิกุล ที่ได้ทำให้เขากลายเป็นผู้กำกับแถวหน้าของวงการภาพยนตร์ไทยในเวลาต่อมา อีกทั้งยังทำให้นักแสดงท่านอื่น ๆ ในเรื่องได้กลายเป็นแถวหน้าของวงการ
ความรู้สึกหลังดู
นักแสดง
อนุชิต สพันธุ์พงษ์ รับบทคาน
อนุชิต สพันธุ์พงษ์ (เกิด ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒) ชื่อเล่นโอ นักร้อง-เต้น นักแสดงชาวไทย เกิดที่จังหวัดสมุทรปราการ จบจากโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ ต่อคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการชนะเลิศการประกวดเต้น
เนสกาแฟเชกแดนซิงคอนเทสต์ และชนะเลิศการประกวด อาร์วีเอสบอร์นทูบีสตาร์ สาขาการเต้น ของวิทยุอาร์วีเอส พอคุ้นหน้ากับการเป็นนักเต้นของมอส-ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ และร่วมแสดงสื่อโฆษณาโค้กกับแคทรียา อิงลิช, แจ้งเกิดเต็มตัวจากภาพยนตร์เรื่องแรก ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๕), โหมโรง (พ.ศ. ๒๕๔๗), มะลิลา (พ.ศ. ๒๕๖๑) ฯ
บทคาน หลังเรียนจบจากกรุงเทพฯ ชีวิตอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ หวนกลับบ้านเพื่อค้นหาเป้าหมายของตนเอง อย่างหนึ่งที่เขาไม่อยากเป็นแน่ๆคือคนหลอกลวงตนเอง แต่ก็ยังตัดใจไม่ได้จากพี่สาวอลิศที่แอบชอบมากๆ ด้วยเหตุนี้เลยไปทำงานใช้แรงงานกรรมกร สำมะเลเทเมาเรื่อยเปื่อยอยู่สักพัก จนกระทั่งบางสิ่งอย่างเกิดขึ้นทางฝั่งลาว อนาคตจะเป็นยังไงไม่รู้ละ แหงนมองท้องฟ้า ตราบใดมีลมหายใจ เดี๋ยวก็หาหนทางไปต่อได้เอง
ผมคงต้องเรียก โอ อนุชิต ว่า ‘เด็กหนุ่มมหัศจรรย์’ เทียบสมัยนี้กับ Timothée Chalamet ได้อย่างสบายๆ ภาพลักษณ์เป็นผู้ชายแบบเบต้า อ่อนน้อมถ่อมตน ใครๆต่างรักใคร่เอ็นดู ทำให้ต้องแบกรับความคาดหวังของทุกคน
ซึ่งพอเติบโตขึ้นมีความคิดอ่านของตนเอง ต้องการโบยบินเป็นอิสระก็มิอาจกระทำโดยง่าย ติดแหงกอยู่ระหว่างสองโลก ไทย-ลาว ความถูกต้อง-บุญคุณค
อึดอัดอั้นไร้หนทางระบาย ทรมานตัวเองกับงานกรรมกร ดื่มเหล้าเมามาย แต่มันก็ไม่ทำให้ปัญหา
วิตเบาบางลงแม้แต่น้อย
นพดล ดวงพร ชื่อจริง ณรงค์ พงษ์ภาพ (เกิด พ.ศ. ๒๔๘๔) นักร้องลูกทุ่ง/หมอลำ นักแสดง เกิดที่อุบลราชธานี บิดาเป็นหมอลำกลอน มารดาเป็นนักร้องเพลงโคราช ตอนเด็กเคยทำงานในวงดนตรีคณะพิพัฒน์ บริบูรณ์ ต่อมากลายเป็นลูกศิษย์ร่วมวงดนตรีจุฬารัตน์ของครูมงคล อมาตยกุล ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อ นพดล ดวงพร พอปีกกล้าขาแข็งแยกไปก่อตั้งวงดนตรี เพชรพิณทอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ รับงานแสดง อาทิ ครูบ้านนอก (พ.ศ. ๒๕๒๑), คนกลางแดด (พ.ศ. ๒๕๓๐) ฯ
รับบทหลวงพ่อโล่ห์ อาศัยอยู่วัดทางฝั่งพม่า ครั้งหนึ่งได้รับบิณฑบาตรจากพญานาคชื่อเข้ม ซึ่งคงสอนวิธีการสร้าง ‘ไข่พญานาค’ สืบสานประเพณีโบราณดั้งเดิมสืบต่อกันมา ต่อมารับเลี้ยงเด็กกำพร้าสามคนจนเติบใหญ่ แต่อุบัติเหตุคร่าชีวิตคนหนึ่งจมน้ำเสียชีวิต อีกคนหนึ่งเลยหนีหายตัวไป หลงเหลือแต่คาน ส่งไปร่ำเรียนถึงกรุงเทพฯ
๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นภาพยนตร์ที่ไม่เพียงสะท้อนวิถีชีวิตชาวไทย ประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อดั้งเดิม หรือการก้าวมาถึงของโลกทัศน์ยุคใหม่ วิทยาศาสตร์ทันสมัย เทคโนโลยีโลกาภิวัฒน์ แต่ยังคือการเรียนรู้ที่จะปรับตัวเอง ด้วยวิธีอ้างอิงจากหลักคำสอนพุทธศาสนา
นั่นคือวางตัวเป็นกลาง ไม่สุดโต่งไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง มีประโยชน์อะไรที่จะพยายามค้นหาคำตอบ เพราะสุดท้ายจนวันตายก็อาจไม่ได้รับคืนสนอง หายใจเข้าลึกๆแล้วผ่อนคลายออกมา แค่นั้นแหละคือความสงบกายใจ สุขจริงแท้ชั่วนิรันดร์